การลืมอาจเป็นธรรมชาติของมนุษย์ทุกคน
อ่านเยอะก็ลืมเยอะ
อ่านน้อยก็ลืมน้อย
ถ้าไม่อ่านก็ไม่ลืมเลย…แต่คงไม่มีความรู้
แล้วเราจะทำอย่างไรถึงจะจำที่อ่านได้ ???
ใครอาศัยการอ่านในการเรียนรู้อย่างนักเรียน นักศึกษา หรือใครที่การงานเกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าและต้องอ้างอิงข้อมูลจากสิ่งที่อ่านเยอะๆ
กด save หรือแชร์บทความเหล่านี้เอาไปใช้ได้นะ
=====
8 เทคนิคง่ายๆในการจดจำสิ่งที่อ่าน
=====
ไปดูกันเลย…
=====
1. อ่านไปจดโน๊ตไปด้วย
=====
ในหนังสือ Managing Oneself ของ Peter F. Drucker ปรมาจารย์ด้านการบริหารธุรกิจยุคใหม่ผู้ล่วงลับเคยกล่าวไว้ว่า คนเรามีวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกันไป บ้างผ่านการฟัง การอ่าน การพูด…เราจึงได้ประโยชน์จากการใช้หลายวิธีในการผสานกันในการเรียนรู้
.
ในขณะที่เราขีดเส้นใต้ วงคำศัพท์บางคำที่ไม่รู้ หรือแม้กระทั่งสรุปทั้งย่อหน้ามาเป็นประโยคสั้นๆ ด้วยความเข้าใจของเราเอง จะเปิดช่องว่างให้สมองของเราได้มีเวลาตีความ ถอดความหมาย คิด สังเคราะห์ตัวหนังสือเหล่านั้น
.
ย่อหน้าเดียวกัน ให้คนสิบคนอ่านจึงตีความได้สิบทิศทาง
ยิ่งผู้อ่านพยายามเชื่อมโยงสิ่งที่ได้เรียนรู้ใหม่เข้ากับสิ่งที่รู้เดิมอยู่แล้วได้มากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งจดจำมันได้มากเท่านั้น
=====
2. ตั้งคำถามกับสิ่งที่อ่าน
=====
ตอนยังเด็กเรามักคิดว่าถ้อยความในหนังสือเป็นวาจาศักดิ์สิทธิ์ที่ถูกต้องทุกอย่างทุกประการ ไม่มีความจำเป็นใดที่จะตั้งคำถามหรือโต้แย้งกับมัน
.
กาลเวลาผันผ่านมาถึงปี 2018…ในโลก social media ที่ทุกคนสามารถผลิต content ได้นั้น พวกเราเริ่มตระหนักดีแล้วว่า “วิจารณญาณ” ในการเสพข้อมูลสำคัญเพียงใด
.
หากเป็นหนังสือวรรณกรรมหรือนิยาย (Fiction) เราอาจถามตัวเองว่า “อะไรคือเบื้องหลังที่ตัวละครตัดสินใจแบบนี้” “ถ้าเจอสถานการณ์เดียวกันเราจะตัดสินใจเหมือนหรือแตกต่างออกไปบ้าง”
.
หากเป็นหนังสือความรู้หรือสารคดี (Non-Fiction) เราอาจถามว่า “ใจความสำคัญของย่อหน้านี้คืออะไร” “ข้อเท็จจริงเหล่านี้อธิบายสิ่งที่เราเจอรอบตัวอยู่ทุกวันได้อย่างไรบ้าง”
.
การตั้งคำถามในสิ่งที่อ่านไม่เพียงแต่ช่วยคัดกรอง “ความคิดเห็น” และ “ข้อเท็จจริง” ออกจากกัน แต่มันยังช่วยให้เราเข้าใจเนื้อหาได้อย่าง “ซึมลึก” และลืมได้ยากมากขึ้นเท่านั้น
ปล.มหาเศรษฐีอันดับ 3 ของโลกก็ใช้วิธีการนี้เช่นกัน สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://bit.ly/2LuDEm6
=====
3. กวาดสายตาดูภาพรวมและหัวข้อใหญ่ๆ
=====
ในบทความ 8 Tips To Remember What You Read ที่เขียนโดยนักประสาทวิทยาสมอง Dr. Bill Klemm ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการเห็นโครงสร้างภาพรวมของเนื้อหาทั้งหมดก่อนเริ่มอ่านเจาะรายละเอียดจะช่วยให้เรากักเก็บรายละเอียดของข้อมูลไว้ในความทรงจำได้มากขึ้น
.
แทนที่เราจะอ่านเป็นเส้นตรงจากหน้าแรกไปหน้าสุดท้ายเราสามารถที่จะพลิกดูที่สารบัญเป็นอันดับแรก…ในแต่ละบทเราสามารถควานหาใจความหลักใหญ่ และอ่านแสกนผ่านแบบเร็วๆ หากเจอประโยคไหนที่สำคัญ ที่คอยสนับสนุนหรือโต้แย้งตีมใหญ่ของเรื่องก็สามารถ hightlight เก็บไว้ให้เด่นชัด (เทคนิคนี้คงไม่ใช่สำหรับวรรณกรรมแน่ๆ เดี๋ยวจะเป็นการ spoil แย่เลย)
.
การแสกนอ่านแบบนี้ก็คล้ายกับเทคนิคการอ่านล่วงหน้าเวลาเรียนหนังสือ เราอ่านเรื่องที่อาจารย์จะสอนไปล่วงหน้า และเข้าคลาสเรียนซ้ำอีกครั้งในหัวข้อเดียวกัน
.
การเห็นภาพรวมก่อนลงขุดรายละเอียดในสนามจริงจะทำให้เราเก็ทไอเดียว่าต้องมองหาหรือคาดหวังในประเด็นไหนบ้าง
.
เมื่อเข้าใจมากขึ้น จับประเด็นได้ดีขึ้น
ก็ย่อมจดจำได้มากขึ้นตามมานั่นเอง
=====
4. นำสิ่งที่อ่านไปเล่าให้คนอื่นฟัง
=====
หนึ่งในเทคนิควิธีการเรียนรู้ที่ดีที่สุดบนโลกมีชื่อว่า ‘The Feynman Technique’ ซึ่งใจความหลักของมันสามารถสรุปออกมาได้ด้วยประโยคเดียวโดยฝีปากของอัจฉริยะตลอดการอย่างไอสไตน์ที่ว่า
“ถ้าคุณเองยังอธิบายมันออกมาแบบเข้าใจง่ายๆ ไม่ได้ แสดงว่าคุณเองนั่นแหละยังไม่เข้าใจในเรื่องนั้นดีพอ”
เมื่อลองกลับประโยคดูจะได้ว่า
“ถ้าคุณอยากจะเข้าใจบางสิ่งบางอย่างให้ถ่องแท้ ก็ลองพยายามอธิบายมันออกมาเป็นภาษาง่ายๆ ดูสิ”
.
อยากเก่งต้องไม่หวงความรู้
.
ครั้งต่อไปที่คุณเรียนรู้เรื่องอะไรใหม่ ลองนำมันไปเล่าหรืออธิบายให้คนรอบตัวฟัง…ในระหว่างการเล่าการถามตอบเหล่านั้นคุณจะเริ่มเห็น “ช่องว่างของความรู้” ในตัวเองที่ยังต้องการเติมเต็ม…คุณจะได้รับคำถามที่ทำให้รู้ว่าเรายังเข้าใจมันได้ไม่ดีพอ
.
เมื่อเรา “ยอมรับในความไม่รู้” ของตัวเอง นั่นคือจุดเริ่มต้นที่ดีในการกลับไปอ่านทำความเข้าใจเหล่านั้นใหม่ เมื่อช่องว่างเหล่านั้นได้รับการเติมเต็ม ข่ายใยประสาทแห่งความรู้ความเข้าใจจะแข็งแรงมากยิ่งขึ้น
.
หากอ่านคุณอาจลืม
แต่ถ้าเข้าใจ มันจะติดสมองของเราไปจนวันตาย
ปล.สามารถศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ‘The Feynman Technique’ ได้ที่บทความนี้ https://bit.ly/2Ln44Xw
=====
5. อ่านจากหนังสือกระดาษ
=====
มีหลายงานวิจัยที่มายืนยันแนวคิดนี้โดยทำขึ้นในปี 2013 โดย Anne Mangen ที่มหาวิทยาลัย University of Stavanger มีการแบ่งนักเรียนออกเป็นสองกลุ่ม…เช่นเคย นั่นก็คือกลุ่มที่ให้อ่านจากหนังสือเล่ม และกลุ่มที่อ่านเป็นไฟล์ pdf ในคอมพิวเตอร์ หลังจากนั้นก็ให้ทำการทดสอบความเข้าใจ
.
แต่ที่น่าสนใจคือระหว่างการทดสอบจะให้ดูเนื้อหาเหล่านั้นไปด้วยได้ระหว่างการทดสอบ
.
กลุ่มอ่านจากหนังสือก็เปิดหนังสือ
กลุ่ม pdf ก็อ่านจากคอมพิวเตอร์
.
ผลปรากฎว่ากลุ่มที่อ่านจาก pdf ทำคะแนนได้ย่ำแย่กว่ากลุ่มที่อ่านจากหนังสือนิดหน่อย (นี่ขนาดว่าเปิดเนื้อหาสอบได้ ยังมีส่วนต่างของคะแนน)
.
ผู้วิจัยได้สรุปผลการทดลองว่า ถึงแม้ว่าทั้งสองกลุ่มจะเปิดเนื้อหาดูได้ระหว่างสอบ แต่ก็ยังมีส่วนต่างของคะแนนอาจเป็นเพราะว่ากลุ่มที่อ่านจาก pdf จะมีความยากลำบากจากการค้นหาข้อมูลที่ต้องการเพื่อนำมาตอบข้อสอบได้ยากกว่ากลุ่มที่อ่านจากหนังสือเล่ม
.
ด้วยธรรมชาติของการอ่านแบบดิจิตอลที่มีข้อความเรียงยาวตั้งแต่ต้นจนจบเป็นแถบยาวเหมือนไม่สิ้นสุดทำให้สมองของเราเกิดความรู้สึก “หลง” ใน “ตำแหน่งแห่งหน”
.
อ่านมายาวเท่าไหร่แล้ว
เราอยู่ในหัวข้อย่อยอะไร
จะจบประเด็นส่วนเนื้อหาที่อ่านแล้วขึ้นเรื่องไหม่ที่ไหน
ไม่มีหน้าซ้ายขวา บนล่างเป็นตัวอ้างอิง
.
ในขณะที่ถ้าเป็นหนังสือเล่มเราสามารถควบคุมทุกอย่างได้ด้วยมือของเราเอง จะเปิด จะพลิก จะเปลี่ยนหน้า ด้วยความง่ายของการ “สำรวจ” เนื้อหาเหล่านี้ ทำให้เราแยกแยะส่วนเริ่มส่วนจบของเนื้อหาแต่ละประเด็นได้อย่างชัดเจน
.
ทำให้เราเชื่อมโยงความเข้าใจและภาพในหัวเข้ากับส่วนต่างๆของหนังสือได้อย่างเป็นธรรมชาติและสอดคล้องกับการทำงานของสมองได้มากขึ้น ทำให้เรามีพลังงานไปโฟกัสกับเนื้อหา เข้าใจและจำมันได้ดียิ่งขึ้น
คนสายวิทย์ที่จงใจมาทำงานสายธุรกิจและหวังว่าซักวันหนึ่งทั้งสองโลกจะมาเชื่อมกัน