Loading

wait a moment

ฮาวทูออกจาก Comfort Zone ตามแบบฉบับฮาร์วาด: 3 วิธีโดดออกจากเตียงนุ่มอุ่นไปลุยโลกรับปี 2019

#ฮาวทูออกจากComfortZone
#อ้างอิงจากบทความHarvardBusinessReview

“ความหวาดกลัวไม่ใช่ความจริง มีเพียงสถานที่เดียวที่ความกลัวสามารถสถิตย์อยู่ได้คือในความคิดเกี่ยวกับอนาคต มันเป็นเพียงแค่ผลพลอยได้ส่วนเกินของจินตนาการเท่านั้น”
– After Earth (2013) –
.
.
.
กลัวเกินไป ไม่กล้าลงมือทำเลยอ่ะ
เรามีวิธีอย่างไรบ้างที่จะก้าวข้ามความกลัวเหล่านี้
วันนี้ขอเสนอทิปใช้การได้จริง โดยอ้างอิงเนื้อหาบางส่วนจากบทความ “How to Overcome Your Fear of Failure” https://bit.ly/2C3WHSR ซึ่งเป็นเว็บไซต์บริหารธุรกิจอันดับต้นๆของโลก


1. เปลี่ยนคำจำกัดความของความล้มเหล็ว [Redefine failure]

มีคำกล่าวที่ว่าหากไม่คาดหวังก็จะไม่ผิดหวัง
แต่ชีวิตที่ไร้ซึ่งความท้าทายและไม่ลองเสี่ยงออกจาก comfort zone เลย
กลับเป็นสิ่งที่ทำให้ชีวิตคุณไร้ซึ่งการเติบโต

นั่นทำให้ผมนึกถึงประโยคภาษาอังกฤษประโยคหนึ่งที่ว่า

“If you find a path with no obstacles, it probably doesn’t lead anywhere.”

“หนทางที่ไร้ซึ่งอุปสรรค ก็คงจะไม่ได้พาคุณไปที่ไหนไกลนักหรอก”

– Frank A. Clark –
.
.

นี่คือความรู้สึกที่ทำให้เพื่อนๆหลายคนยืนพิงฝาผนังห้องแล้วจ้องมองไฟบนเพดานแล้วพูดกับตัวเองว่า

“แล้วชีวิตนี้จะมีอะไรมากกว่านี้ไหม”

แน่นอนมันก็คงจะมีอยู่แค่นี้ เท่าที่มีในห้องนอนของคุณ ถ้าคุณไม่เรียนรู้ที่จะลองเสี่ยงทำอะไรใหม่ๆ

“หากว่ารักต้องไม่กลัวคำว่าเสียใจ” อาจเป็นมุมมองของความรักที่เราสามารถนำมาใช้อธิบายเรื่องความกลัวความล้มเหล็วได้เป็นอย่างดี
.
หากไม่ลงมือทำก็จะไม่ล้มเหล็ว
แต่การหยุดนิ่งในโลกสมัยใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไวก็สามารถนำความล้มเหล็วมาสู่คุณได้เช่นกัน
.
ในเมื่อคุณเห็นแล้วว่าขวากหนามอันตราย อุปสรรคต่างๆระหว่างทางคือสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่สิ่งที่เราทำได้เสมอคือการ “ปรับมุมมอง” ที่เรามีต่อปัญหาเหล่านั้น
.
.
สมมุติว่าคุณกำลังศึกษาดูใจอยู่กับหญิงสาวคนหนึ่ง
คุณเห็นแล้วว่าคุณทั้งสองมีอะไรที่คล้ายกัน มีเคมีที่น่าสนใจฟุ้งอยู่รอบๆตัวคุณทั้งสอง ยิ่งคุณรู้จักเธอมากขึ้นเท่าไหร่ คุณก็ยิ่งรู้สึกว่าหัวใจของคุณค่อยๆ ร้อยรัดผูกพันธ์กับเธอมากขึ้นทุกที

ทว่าในจุดหนึ่งในการเดินทางของความสัมพันธ์ “กำแพง” จะค่อยๆปรากฎ กำแพงที่คล้ายจะเป็นเปลือกของหัวหอมที่มีชั้นซ้อนชั้นไปเรื่อยๆจนถึงแก่นภายใน
.
ในขณะที่ความรู้สึกของคุณที่มีให้เธอมากขึ้นทุกที…แต่สถานะก็ยังไม่ชัดเจน มันยังเร็วไปที่จะบอกได้ว่าเธอคิดอย่างไร
ท้ายที่สุดคงยากจะบอกได้ว่าคุณและเธอจะได้ลงเอยกันหรือไม่
.
มันคือความขัดแย้งแปลกๆที่น่าชวนหัว
คุณจะกล้าเปิดเปลือยตัวตน ลอกหัวหอมแห่งจิตใจของคุณเองให้เธอได้รู้จักคุณมากขึ้น แต่ถ้าผิดหวังคุณก็ต้องเจ็บมากขึ้นเช่นกัน ในขณะที่หากคุณ save ตัวเองรักษาระยะห่าง สงวนท่าที ยังไม่รีบจะรัก แน่นอนว่าคุณจะเจ็บน้อยกว่า แต่นั่นก็ทำให้คุณพลาดโอกาสที่จะเผยด้านที่ลึกซึ้งของตัวคุณเองให้เขาได้รับรู้ และก็คงยากที่ความรักจะเกิดขึ้น
.
.
คุณอาจจะคิดว่าคุณมีทางเลือกแค่สองทางนี้
high risk high return หรือไม่ก็ low risk low return
.
โดยคุณอาจจะปัดหมุดไว้ในใจไว้ว่าผลตอบแทนหรือ “สิ่งที่คาดหวัง” นั้นคือ การที่คุณกับเธอได้คบกัน
คือการที่เธอตอบ “ตกลง” เป็นแฟนกับคุณ
.
เมื่อความคาดหวัง (ผลสำเร็จ) ถูกจัดตั้งขึ้นอย่างนั้น…คำนิยามของความล้มเหล็วก็ถูกสร้างขึ้นในอีกด้านที่ตรงข้ามเช่นกัน
นั่นคือการไม่ได้รับรักจากหญิงสาวที่คุณชอบนั่นเอง
.
.
พอเป็นเช่นนี้ทำให้หลายคนเลือกที่จะไม่เสี่ยง ไม่วางเดิมพัน เดินเกมแบบ play save เอาไว้ก่อน ซึ่งนั่นก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดอะไร
แต่ความจริงมันยังมีอีกวิธีหนึ่งครับที่ทำให้เราสามารถกล้าที่จะวางเดิมพันได้สูงเท่าเดิม กล้ารัก กล้าเสี่ยง แต่ถ้าหากไม่เป็นดังหวังก็ไม่เสียใจมากมายขนาดนั้น
.
.
สิ่งนั้นก็คือการ “จำกัดความล้มเหล็วเสียใหม่”
คุณตระหนักรู้ว่ามันยังมีอีหลายปัจจัยใช่ไหมที่จะทำให้ความรักสมหวังหรือไม่

ความรักกับการตั้งเป้าหมายในชีวิตมีอะไรที่คล้ายกันอยู่หลายอย่าง
หนึ่งในนั้นคือ “มันไม่ใช่เรื่องของคุณคนเดียว” บางทีการที่คุณไม่สมหวังไม่ได้แปลว่าตัวคุณแย่ ไม่ดี ไม่ได้เรื่อง…เพียงแต่สิ่งที่คุณเป็น สิ่งที่คุณทำเพียงแต่ไม่ได้ไปลงล๊อคกับอีกฝ่ายเท่านั้นเอง
.
ในเรื่องความรัก สิ่งที่ดีที่สุดที่คุณจะทำได้คือการเป็นตัวของตัวเอง ให้อีกฝ่ายได้รู้จัก ส่วนจะชอบหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

ในเรื่องของการตั้งเป้าหมายก็เช่นกัน…คุณทำได้แค่ดีที่สุด แล้วที่เหลือก็ต้องปล่อยให้เป็นเรื่องของปัจจัยอื่นๆ
.
.
หากแรกเริ่มคุณมองว่าความล้มเหล็วคือการที่คุณไม่สามารถพิชิตใจหญิงสาวที่คุณชอบได้

แต่นั่นก็ดีแค่ไหนแล้วที่คุณได้ลองรักคนหนึ่งอย่างเต็มที่ คุณได้ทำทุกสิ่งที่คุณอยากทำให้คนที่คุณรัก คุณได้เรียนรู้เกี่ยวกับหัวใจตัวเองว่าคุณชอบคนแบบไหน ความล้มเหล็วจึงไม่ใช่การที่คุณจีบไม่ติด แต่เป็นความกลัวที่ขัดขวางหัวใจของคุณได้เปิดเปลือย(vulnerability) เพื่อสัมผัสกับอีกใจแม้สุดท้ายอาจหมายถึงคุณจะต้องเจ็บจากความผิดหวัง
.
.
มีคำกล่าวที่ว่า
“luck is preparation meeting opportunity”
“โชค คือการเตรียมพร้อมรับมือกับโอกาสที่เข้ามา”

หากพลาดคว้าโอกาสไว้ไม่ได้ทั้งที่ๆคุณเตรียมพร้อมมาดีแล้วนั่นไม่ใช่ความล้มเหล็ว เพราะหากคุณพร้อมจริงๆ เดี๋ยวโอกาสครั้งใหม่ก็ผ่านมา

ความล้มเหล็วที่แท้จริงคือความกลัวที่ขวางกั้นตัวเองจนไม่แม้แต่จะเริ่มต้นเตรียมพร้อมรับกับโอกาสที่ผ่านเข้ามา หากคุณไม่พร้อม จะมีโอกาสผ่านมาสิบครั้งหรือร้อยครั้งก็ไม่ต่างกัน …เพราะมันก็คงไม่มีหวังแม้เพียงครั้งเดียว

===
2.ตั้งเป้าหมายเพื่อไขว่คว้า มิใช่หลีกหนี [Set approach goals, not avoidance goals]
===

 

มีทางจิตวิทยามีแรงผลักดัน 2 แบบที่สามารถเปลี่ยนแปลงคนเราได้

หนึ่ง ความหวาดกลัว
สอง ความสนใจ (ความต้องการ)
.
.
.
คุณอยากมีใครซักคนเพราะทำให้ชีวิตมีคุณค่ามีความหมาย
หรือคุณเพียงแต่กลัวการที่จะต้องอยู่คนเดียว

คุณลดน้ำหนักเพราะคุณอยากมีรูปร่างที่สวยงามได้สัดส่วน
หรือคุณไม่อยากดูแย่ในสายตาของคนอื่น

คุณขยันตั้งใจเรียน ศึกษาเพิ่มเติม ถามจุดสงสัยเวลาไม่เข้าใจเพราะคุณรู้สึกชอบในเนื้อหาวิชา หรือเพียงเพราะคุณหวาดกลัวการสอบตก
.
.
.
ใช่, มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อนจนยากที่จะบอกว่าเราทำอะไรซักอย่างด้วยความสนใจหรือความหวาดกลัวเพียงอย่างเดียว

พวกเราล้วนมีความหวัง ความหวาดกลัว อารมณ์แรงขับดันทั้งภายในและภายนอกมากมายที่มีผลต่อการตัดสินใจทำแต่ละอย่าง
.
.
อย่างไรก็ตาม…นักจิตวิทยาค้นพบว่าเป็นเรื่องที่ดีกว่ามากที่เราจะหยิบจับเอา “แรงผลักดันด้านบวก” เช่นความต้องการ ความสนใจ ออกมาตั้งเป็นเป้าหมาย
.
.
เพื่อความเข้าใจมากขึ้น
ลองเปรียบเทียบ mindset ของคนสองคนนี้ในการหางานใหม่ดูก่อนนะครับ

นาย บวก: ตั้งเป้าหมายว่าภายในกลางปีจะเปลี่ยนที่ทำงาน เขาตั้งเป้าหมายด้วยหัวใจเบิกบาน เขาเตรียมตัวการสมัครงานด้วยความกระตือรือร้น หัวใจพองโต

นาย ลบ: เขาเบื่องานปัจจุบันที่ทำอยู่มาก และบอกตัวเองว่าก่อนกลางปีจะต้องหางานใหม่ที่มันไม่ทรมาณแบบนี้
.
.
.
หนึ่งคนโฟกัสถึงอนาคตที่ดีกว่า
อีกคนขอแค่ไม่แย่เหมือนที่เป็นอยู่
.
.
คุณคิดว่าคนไหนจะมีแรงบันดาลใจในการเตรียมตัวสู่เป้าหมายนี้ด้วยพลังที่เหนือชั้นกว่ากัน ???
.
แบบแรกน่าตื่นเต้น
แบบที่สองแค่คิดก็เหนื่อยแล้ว
.
นี่เป็นแค่ตัวอย่าง แต่ในชีวิตจริงก็ต้องยอมรับว่ามันไม่ได้สวยงามขนาดนั้น เรามีบางแง่มุมของชีวิตที่แย่ๆ ที่อยากแก้ไข…เราอยากหนีไปจากปัจจุบันที่มันเลวร้าย
.
.
แม้เรื่องที่เราอยากจะเปลี่ยนจะเริ่มมาจากพลังด้านลบ แต่นักจิตวิทยากำลังบอกเราว่า เราสามารถใช้พลังทางบวกนำทางเราไปได้นะ
เพราะการที่เราโฟกัสที่จะหนีสิ่งแย่ๆ มันสามารถบดบังเราจากการมองเห็นสิ่งดีๆได้ นี่ยังไม่นับรวมถึงความเป็นจริงที่การเปลี่ยนแปลงต้องทำอย่างต่อเนื่องซึ่งมันคงดีกว่ามากถ้าเราทำมันด้วยความรัก ความสนใจ ความตื่นเต้นที่จะเห็นสิ่งดีๆได้เกิดขึ้น

Tip : ในภาษาอังกฤษจะมีสำนวนรูปแบบหนึ่งที่ขึ้นต้นว่า “Wouldn’t It Be Nice to” (จะดีแค่ไหนถ้า) แล้วตามด้วยสิ่งที่เราอยากให้เกิดขึ้น เช่น

Wouldn’t It Be Nice to “live longer”
จะดีแค่ไหนถ้า…อายุยืนยาวขึ้น

Wouldn’t It Be Nice to “make more money”
จะดีแค่ไหนถ้า…หาเงินได้เยอะมากกว่านี้

Wouldn’t It Be Nice to “have fulfilling relationship”
จะดีแค่ไหนถ้า…อยู่ในความสัมพันธ์กับคนรักที่อิ่มเอิบ
.
.
ความลับของประโยค “Wouldn’t It Be Nice to” คือเป็นการทริคให้สมองตั้งเป้าหมายที่มาจากความสนใจ/ความต้องการ มากกว่าที่จะมาจากความหวาดกลัว
.
.
ลองหลับตัวแล้วจินตนาการชีวิตที่ต่างออกไปแล้วถามตัวเองว่า “จะดีแค่ไหนถ้า” สิ่งจุดจุดจุดที่เราคิดอยู่จะเกิดขึ้นจริงๆ


3.จากตั้งเป้าหมายมาเป็น…ตั้งความกลัว (เพื่อก้าวผ่านมัน)[Create a “fear list]

ข้อนี้อันที่จริงไม่ใช่แนวคิด แต่เป็นเทคนิคที่ยอดมากๆเลยล่ะครับ ผู้เขียนเองได้รู้จักมานานซักพักแล้วจาก TED Talks ที่ชื่อ “Why you should define your fears instead of your goals” (ดูได้ที่นี่ https://bit.ly/2raYAoH)

โดยคุณทิมผู้บรรยายเสนอขั้นตอนอย่างเป็นรูปธรรมที่เราทำตามได้ทันทีในการก้าวผ่านความกลัว 3 ขั้นตอนใหญ่ๆได้แก่

หนึ่ง: ก้าวผ่านความกลัวโดยตั้งโจทย์เป้าหมายที่อยากทำแต่ความกลัวมากั้นไว้ เช่น อยากย้ายงานที่ใหม่

• ระบุความกลัว (Define): เขียนสิ่งที่เลวร้ายที่สุดที่อาจเกิดขึ้นได้ (ความกลัวที่ซ่อนอยู่) เช่น กลัวว่าที่ทำงานที่ใหม่จะไม่ได้เปิดโอกาสให้พัฒนาตนเองผ่านการทำอะไรใหม่ๆอย่างที่คิด

• อุดความกลัว (Prevent ): ในความกลัวแต่ละข้อด้านบน เรามีวิธีป้องกันอย่างไรได้บ้าง เช่น พูดคุยสอบถามให้แน่ใจระหว่างการสัมภาษณ์งาน

• แก้ไขสถานการณ์(Repair ): ถ้าสิ่งที่เรากลัวนั้นดันเกิดขึ้นจริงๆ เราจะแก้ไขอย่างไร เช่น ทำโปรเจกเสริมนอกเหนือจากงานหลักเพื่อพัฒนาตนเอง
.
.

สอง: ก้าวผ่านแล้วได้อะไร

ข้อแรกคือสิ่งที่ทำให้เรา “ไม่กล้า” ลงมือทำ
แต่ข้อสองจะเป็นเหตุผลที่ทำให้หัวใจของเรา”อยาก” จะลงมือทำมัน

ให้เขียนมันมาจากใจ ลองหลับตาจินตนาการว่าถ้าเราทำสำเร็จจะรู้สึกอย่างไร…เป้าหมายที่ดีจะต้องทำให้หัวใจของเราตื่นเต้นที่จะลงมือทำได้
.
.

สาม: อะไรจะเกิดขึ้นถ้าไม่ลงมือทำ

คนส่วนใหญ่จะคิดถึงแต่ความน่ากลัวของปัญหาและไม่กล้าลงมือทำ
คนส่วนน้อยจะจัดการกับความกลัวและคิดถึงเหตุผลที่ควรลงมือทำ
คนส่วนน้อยที่สุด…การไม่ลงมือทำอะไรเลย ไม่ได้แปลว่าไม่เสี่ยง ในโลกที่ทุกคนก้าวไปข้างหน้า การยืนอยู่กับที่ก็คล้ายการเดินถอยหลัง

แน่นอนว่าการไม่ย้ายงานอาจทำให้คุณไม่ต้องกลัวกังวลว่าที่ทำงานที่ใหม่จะดีอย่างที่หวังใจไว้หรือไม่ แต่การไม่เสี่ยงก็คือความเสี่ยง…เมื่อคุณตัดสินใจที่จะทำงานที่เดิมที่คุณไม่ชอบต่อไปเรื่อยๆ…คุณจะต้องเสียอะไรไปบ้าง
.
Tip: ลองเขียนออกมาว่าคุณจะพลาดอะไรบ้างในระยะเวลา 3 เดือนจากนี้ 6 เดือนจากนี้ 5 ปีจากนี้ ถ้าคุณยังคงไม่ลงมือทำอะไรซักอย่าง
.
.
.
.
.
เมื่อคุณเข้าใจแล้วว่า
1.หากพลาดคว้าโอกาสไว้ไม่ได้ทั้งที่ๆคุณเตรียมพร้อมมาดีแล้วนั่นไม่ใช่ความล้มเหล็ว เพราะหากคุณพร้อมจริงๆ เดี๋ยวโอกาสครั้งใหม่ก็ผ่านมา…คาดหวังได้ แต่คาดหวังให้ฉลาด เมื่อคุณเปลี่ยนนิยามความล้มเหล็วไป ความกลัวที่จะเริ่มต้นก็จะลดน้อยลง
.
2.ตั้งเป้าหมายด้วยความสนใจ ไม่ใช่ความหวาดกลัว พลังด้านบวกจะช่วยให้คุณมีแรงบันดาลใจในการเริ่มต้นลงมือทำด้วยความสุขที่มากกว่า
.
3.รู้จักบริหารจัดการความกลัวที่มาขวางกั้นจากการลงมือทำด้วยเทคนิค Fear setting…ความกล้าไม่ใช่การปราศจากความกลัว แต่คือการตัดสินใจก้าวเดินไปแม้จะยังมีความกลัวอยู่เต็มหัวใจ
.
.
.
เมื่อดูจากภายนอก…พวกเราแต่ละคนอาจมีความฝัน ความหวังและความหวาดกลัวที่แตกต่างกันไป…แต่ในเมื่อความหวาดกลัวไม่ใช่ความจริง และมันอยู่ได้แค่ในความคิดและจินตนาการของเรา การก้าวผ่านความกลัวจึงเป็นสิ่งที่เราสามารถเรียนรู้และฝึกฝนกันได้เช่นเดียวกับทักษะอื่นๆในชีวิต
.
หวังว่าเทคนิคเหล่านี้จะทำให้เพื่อนๆทุกคนค้นพบความกล้า
เป็นความกล้าที่จะลงมือทำบางสิ่งที่ตนเองเชื่อ…แม้ว่าเส้นทางนั้นอาจไม่ได้เหมือนใครๆ

#แด่นักเดินทางแห่งชีวิตทุกคน
.
.
.
.
.
.

เครดิทภาพปกจากภาพยนต์เรื่อง The Dark Knight Rises (2012) ฉาก The Pit ที่ตัวเอกของเรา Bruce Wayne ตัดสินใจปีนออกจากคุกถ้ำโดยไม่ใช้เชื่อกเพราะเชื่อว่า “ความกลัว” ซึ่งเป็นหนึ่งในสัญชาติญาณพื้นฐานที่สุดอย่างหนึ่งของมนุษย์จะช่วยให้ประสาทสัมผัสทั้งหมดเปิดกว้างและเรียกพลังเฮือกสุดท้ายมาช่วยในการป่ายหน้าผาออกไปได้แม้ว่าหากพลาดพลั้งตกลงมาอาจหมายถึงชีวิต

อ้างอิงเนื้อหาบางส่วนจากบทความ “How to Overcome Your Fear of Failure” https://bit.ly/2C3WHSR

ณภัทร สงวนแก้ว
ณภัทร สงวนแก้ว

คนสายวิทย์ที่จงใจมาทำงานสายธุรกิจและหวังว่าซักวันหนึ่งทั้งสองโลกจะมาเชื่อมกัน

ร่วมแสดงความคิดเห็น และแชร์ไปยัง Facebook ของท่าน