เมื่อปี 2007
หรือกว่า 11 ปีมาแล้ว…
จากจุดเริ่มต้นเล็กๆ ในความพยายามสอนการบ้านหลานต่างเมือง
หนุ่มนักการเงินชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดียผู้นี้ได้ปฎิวัติวิธีการเรียนรู้ของผู้คนทั่วโลก
ไม่ว่าคุณจะเป็น…
หญิงชาวตะวันออกกลางที่ถูกกีดกันการศึกษา
ผู้คนชายขอบ ชนช้นรากหญ้าที่สายต้นตระกูลไม่เคยกล้าฝันใฝ่ที่จะได้เข้าเรียนมหาวิทยาลัย
เด็กต่างจังหวัดประเทศ สารขัณฑ์ อย่าง Thailand ที่ไม่มีเงินไปเรียนพิเศษ
เพียงเพราะคุณเป็นคนเหล่านั้น…ไม่ได้ทำให้โอกาสการศึกษาของคุณหมดไป
.
ใช่, มีหลายคน หลายทีมพยายามจะสร้างแพลตฟอร์มการเรียนออนไลน์
แต่ไม่มีที่ไหนจะใจกว้างเท่าที่นี่…เราไม่ได้บอกว่าสิ่งใดดีกว่าอีกสิ่งหรือไม่
เพราะกิจการต่างๆ ในโลกทุนนิยม ย่อมถูก drive ด้วยเม็ดเงินและผลกำไรทั้งสิ้น
แต่ Khan Academy ได้ประกาศตนเป็น Non-profit organization อย่างเต็มรูปแบบ
นั่นคือจุดเริ่มต้นแห่งกระแสเรียนออนไลน์ที่ผุดขึ้นมากมายบนโลกใบนี้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
และวันนี้เราจะชวนไปหาคำตอบกันว่า
ทำไม? Online learning trend ไม่เพียงเป็นคลื่นลูกถัดไปของโลกวงการศึกษาระดับโลก
แต่มันยังคืบคลานเข้ามาในประเทศของเรา แล้วเราจะคว้าโอกาสอะไรจากปรากฎการณ์นี้ได้บ้าง
สำหรับผู้มีการศึกษาอยู่แล้ว…ก็อย่าได้มั่นใจในใบปริญญาของคุณ
ไม่รู้เป็นอะไร สำหรับยุคนี้ใครๆ ก็บอกว่าโลกมันเปลี่ยนแปลงรุนแรง รวดเร็ว ไหนจะ trend AI ที่อ่านเจอตามสำนักข่าวออนไลน์ต่างๆ ว่ามันกำลังคืบคลานเข้ามาแย่งงานคน สิ่งเหล่านี้พูดถึงทีไรก็ทำให้พวกเรารู้สึกอกสั่นขวันแขวนกันอยู่ลึกๆ …หรือว่าใบปริญญาที่เราพึ่งจะได้มานั้นจะไม่ใช่สิ่งการันตีอีกต่อไป ว่ามันจะพอเพียงสำหรับตลาดแรงงานยุคใหม่ที่ต้องการ skill sets ที่แตกต่างออกไปจากสิ่งที่เราเรียนมาจากมหาวิทยาลัย นี่ยังไม่นับรวมว่ามีความเป็นไปได้สูงว่าแม้แต่ตัวหลักสูตรที่มีอยู่ในปัจจุบันอาจไม่ได้ตอบโจทย์สิ่งที่โลกต้องการแล้วด้วยซํ้าไป
เมื่อเอกชนยักษ์ใหญ่เริ่มบุกโลกการศึกษา
ล่าสุดเมื่อ 16 ม.ค. 2018 Google พึ่งได้ออกมาแถลงถึงโปรเจกใหม่บนพื้นที่สื่อของตัวเองใน Google Blog ว่าได้เริ่มปล่อยคอร์สเรียนออนไลน์ที่จะมอบความรู้พื้นฐานที่จะทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าสู่โลกการทำงานในวงการ IT support ได้ในระยะเวลาเพียง 8-10 เดือนเท่านั้น โดยแค่สละเวลาเรียนผ่านคอร์สออนไลน์ที่ Google เป็นคนสร้างขึ้นมา…จุดที่น่าสนใจคือตัวคอร์สระบุว่าไม่ได้ต้องการความรู้พื้นฐานล่วงหน้าใดๆ เพราะจะปูรากฐานให้ใหม่ตั้งแต่เริ่มต้น แค่มีความตั้งใจ เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา สละเวลาเพียงแค่ 8-10 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เท่านั้น…เมื่อยักษ์ใหญ่ขยับ อีกไม่นานโลกก็คงหมุนไปตามๆ กัน
นี่คือจุดเริ่มต้น กระแสในประเทศไทยเริ่มไปตามๆกัน
หากย้อนกลับไปซักสี่ห้าปีก่อน ผมยังจำความรู้สึกตื้นเต้นดีใจที่ได้รู้จักกับเทคโนโลยีการศึกษาเหล่านี้ แน่นอนว่าทุกวันนี้ทุกคนเริ่มเข้าใจ concept ของระบบการเรียนออนไลน์ที่เรียกว่า MOOC มากยิ่งขึ้น แต่ในตอนนั้นคอร์สออนไลน์ไม่ว่าจะเป็น edX, Coursera , Khan Academy , Udacity ล้วนเป็นสิ่งแปลกใหม่ที่น่าทดลอง (ลองคลิ๊กเข้าไปดูแต่ละอันได้เลย แนะนำมากๆ เพราะเราสามารถเรียนกับ professor เก่งๆ ที่อยู่ในมหาลัยระดับโลกอย่าง Harvard หรือคนเก่งๆ ที่ทำงานอยู่ใน Silicon Valley ได้โดยตรงผ่านประสบการณ์ออนไลน์เสมือนในคุณภาพที่ไม่แตกต่างกันเลย)
จากวันนั้นถึงวันนี้ ผมเติบโตจากโลกการเรียนเข้าสู่วัยทำงาน และเริ่มเห็นแนวโน้มนี้ค่อยๆ แผ่ขยายเข้ามาในประเทศไทย เมื่อประมาณปลายปีก่อน เสาหลักของแผ่นดินก็เริ่ม launch CHULA MOOC ที่อาจารย์ในจุฬาต่างเข้ามาเปิดคอร์สซึ่งแต่ละอันน่าเรียนทั้งนั้น เช่นคณะบัญชีมีเปิด “การตลาดในศัตวรรตที่ 21” คณะวิศวะมีเปิด “Intro to Data Analytics and Big Data” ซึ่ง ณ ตอนนี้ก็ปิดรับสมัครเพราะคนเต็มไปแล้ว (ยังไม่ได้ลองลงซักที ก็เพราะมันฮอทอย่างนี้มาตลอด)
“คำถามคือ พวกเราในฐานะปัจเจกบุคคลเห็นอะไรจากปรากฎการณ์นี้ จะปรับตัวอย่างไร และจะคว้าโอกาสที่เกิดขึ้นใหม่นี้อย่างไร โดยส่วนตัวผมคิดว่าวงการศึกษาและตลาดแรงงานจะค่อยขยับไปในทิศทางเหล่านี้มากขึ้น”
อะไรจะเกิด มันก็ต้องเกิด จงปรับตัวให้ทัน
1.ใบปริญญายังคงสำคัญอยู่ แต่จะถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาเข้าทำงานเท่านั้น เพราะประสบการณ์ที่เคยทำงานหรือกิจกรรมที่บ่งบอกถึงความสนใจในลักษณะงานนั้นๆ มีอีกหลายอย่างเช่น ค่าย UI/UX design, ค่าย coding ของสมาคมเขียนโปรแกรมแห่งประเทศไทย, ค่าย a team junior แห่ง a day magazine สิ่งเหล่านี้ล้วนสะท้อนถึงความสนใจจริง ความเรียล มากกว่าใบปริญญาอีกเป็นไหนๆ
2. จะมีการรับเข้าทำงานโดยการดูจาก “ความสามารถในการทำงานจริง” มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะทักษะบางอย่างได้รับการพิสูจน์แล้วว่าหากจะทำได้ดีไม่จำเป็นต้องเป็นต้องจบสายตรงมา เห็นกระแสนี้ได้จากแพลตฟอร์มการจ้างงานฟรีแลนซ์ที่ยึดจากผลงานเก่า หรือการประกาสรับสมัครงานจากองค์กรใหญ่ที่ไม่จำกัดวุฒิการศึกษา
3.คอร์สเรียนออนไลน์ is everywhere และลักษณะการเรียนเหล่านี้ก็เริ่มเข้าสู่ “ความรับรู้” ของนายจ้างแล้วว่า เป็นอีกหนึ่งใน “หลักฐานยืนยัน” ที่มีความน่าเชื่อถือในระดับหนึ่ง
4.การทำงานโดยยึดหลัก result-oriented จะเริ่มเป็นที่ยอมรับและมารตฐานใหม่ของอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น โปรเจก AMARIN DIGITAL TALENT ที่เปิดโอกาสให้ทำงานที่ไหนก็ได้ขอให้ได้ผลงานที่ตั้งเป้ากันไว้ (อ่านเพิ่ม)
Ananda Development บริษัทอสังหามาดคน Gen-Y ที่มีออฟฟิศเก๋ไก๋และระบบเข้าออกงานยืดหยุ่น (มีแผนที่ออฟฟิศที่เจ๋งมาก ลองคลิกดูได้)
หรือดูเจ้าพ่อวงการคอนเท้นระดับโลกอย่าง Netflix ที่มีวัฒนธรรมองค์กรณ์ที่ประกาศตัวชัดเจนว่า เราไม่ได้อยู่กันเป็นครอบครัว แต่อยู่เป็นเพื่อนร่วมงาน และไม่สนใจว่าคุณจะเข้าออฟฟิศหรือไม่ขอให้มีผลงานที่ Impact กับองค์กรก็พอ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่คุณไม่ได้มีผลงานก็พร้อมจะเฉ่งหัวคุณออกอย่างไม่ใยดีแม้คุณจะรักองค์กรณ์และทำงานมานานแค่ไหนก็ตาม หากนี่ยังไม่พอ (อ่านเพิ่ม)
มาดูองค์กรยักษ์ใหญ่ในวงการธนาคารอย่างกสิกรไทย ที่ผู้บริหารรับสูงออกมาเปิดเผยว่า ไม่ให้หัวหน้าในองค์กรณ์ให้ลูกน้องทำงานเกิน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เน้นการเพิ่ม productivity มากกว่ายึดตามจำนวนชั่วโมงที่นั่งแช่อยู่ในออฟฟิศ (อ่านเพิ่ม)
ซึ่งปรากฎการณ์ result-oriented เหล่านี้ย่อมเปรียบเหมือน Feedback สะท้อนกลับไปสนับสนุนการดูความสามารถจริงๆ ซึ่งถูกพัฒนาได้ผ่านคอร์สเรียนออนไลน์โดยอาจไม่ต้องผ่านสถาบันการศึกษาในระบบเสมอไป…นับรวมว่าเป็นวัฒนธรรมการทำงานที่สนับสนุนให้ Ecosystem ของ Online learning trend แข็งแรงขึ้น
บทสรุป
หากคุณเห็นแล้วว่าอีกหลายสิ่งกำลังจะไม่มีวันเหมือนเดิมอีกต่อไป…
การต้านทานกระแสหรือบอกตัวเองว่าไม่จำเป็นต้องสนใจ ก็อาจเป็นการปิดตาข้างเดียว ถ้าลึกๆแล้วคุณก็รู้สึกในสิ่งเหล่านี้ ไม่ต้องหวั่นไป แค่การตระหนักรู้ว่ามีอีกหลายสิ่งที่เราไม่รู้ หรือแค่คุณคลิกเข้ามาอ่านบทความนี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการเริ่มต้น
สร้างตัวเองให้เป็นสิ่งมีค่า ในโลกยุคใหม่ที่ใบปริญญาอาจสำคัญน้อยลงไป
เพราะในโลกที่ความรู้อยู่แค่ปลายนิ้วคลิก
สิ่งที่จะสร้างความแตกต่างได้คือการรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ควรรู้
และวิธีการเรียนรู้ที่ดีที่สุดในการอุดช่องโหว่ในความรู้เหล่านั้นต้องทำอย่างไร
คือคำตอบแห่งยุคสมัยในวันที่ใบปริญญาตามไม่ทันโลกนั่นเอง
คนสายวิทย์ที่จงใจมาทำงานสายธุรกิจและหวังว่าซักวันหนึ่งทั้งสองโลกจะมาเชื่อมกัน