วิธีคิดแบบ Second-Order Thinking: คิดมากไปไม่ดี แต่คิดน้อยไปก็ชีวิตพังได้

วันนี้ผมอยากจะมาชวนพูดคุยถึงกระบวนการตัดสินใจของมนุษย์กันครับ
.
ถ้าเรามีสมมุติฐานว่ามนุษย์เราสามารถเพิ่ม “คุณภาพ” ในการตัดสินใจได้…เราก็จะสามารถมีชีวิตที่ดีขึ้นได้ผ่านผลลัพธ์ที่ดีกว่า อันเกิดจากทางเลือกร้อยพันที่เราจะก้าวเดินไประหว่างการใช้ชีวิต


ทีนี้เราต้องมาดูก่อนว่าในมนุษย์ทั่วไปๆ มีรูปแบบการคิด/การตัดสินใจใหญ่ๆ แบบใดบ้าง

หนึ่ง First order thinking หรือการคิดในโหมดของคนทั่วไปๆ เมื่อเจอกับปัญหา นั่นคือการที่เราตัดสินใจเลือก หรือโอบกอดกับทางแก้ปัญหา (solution) ที่ผุดขึ้นเป็นอย่างแรกในหัวสมอง โดยลืมพิจารณาทางเลือกอื่นๆ อย่างรอบด้าน (ไอเดียแรกอาจไม่ใช่ไอเดียที่ดีที่สุด)
.
สอง Second-Order Thinking หรือการคิดให้ลึกกว่าปกติ โดยเมื่อเราเจอคำถาม ทางเลือก หรือปัญหา แล้วเราชะลอการตัดสินใจให้ช้าลง อย่าเพิ่งเลือกทางเลือกซ้ายหรือขวา แต่ให้เราคิดให้ “ลึกขึ้น” เพื่อพิจารณาถึงเหตุและผลของสิ่งต่างๆ ก่อนจะตัดสินใจเลือกสิ่งที่ดีี่สุด
.
.
ก่อนอื่นเราลองมาดูตัวอย่างเหล่านี้ก่อน
.
.
ถ้ามีคนบ่นว่า
“ออกจากบ้านทีไรฝนตกทุกที แล้วตกเฉพาะวันที่เราออกด้วยนะ”

เราจะกล้าสรุปไหมว่า การออกจากบ้านของเราคือสาเหตุให้ฝนตก
(ทำเป็นเล่นไป คนที่ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางของโลกบางคนก็คิดแบบนั้นนะครับ ฮ่าๆ)

.
แล้วถ้าดูอีกตัวอย่างหนึ่ง (เรื่องราวเกิดที่ประเทศเขตหนาว)
.
มีข้อมูลทางสถิติพบว่า ในวันที่อากาศโปร่ง อบอุ่น พระอาทิตย์จ้า จะมียอดขายไอศกรีมเพิ่มมากขึ้น และยังมีอัตราการฆาตกรรมสูงขึ้นด้วย…เฮ้ยยย !!!
.
แล้วแบบนี้เราจะยังกล้าสรุปไหมครับว่า
การกินไอศกรีมต้องมีอะไรเกี่ยวข้องหรือเป็นสาเหตุของอัตราการฆาตกรรมที่สูงขึ้น
.
คำตอบคือ ไม่ !!!!
.
จะเห็นได้ว่าเพียงเพราะสองสิ่งมันมีแนวโน้มไปในทางเดียวกัน ก็ไม่ได้หมายความว่าสิ่งหนึ่งจะเป็นสาเหตุให้เกิดอีกสิ่งหนึ่งตามมา ในกรณีนี้เราเพียงยังไม่พบปัจจัยที่เกื้อหนุนอย่างรอบด้าน แต่ถ้าศึกษาต่อไปเราจะพบว่า
.
วันฟ้าโปรงอากาศร้อน….จะทำให้คนอยากกินไอศกรีมมากขึ้น
และยังมีอีกหนึ่งอย่างที่เราขาดตกไปคือ!!!!

วันฟ้าโปรงอากาศร้อน(สำหรับประเทศเขตหนาวคืออบอุ่นสบาย)…ยังทำให้คนออกนอกบ้านมาเที่ยวเล่นกันมากขึ้น และนั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้อาชญากรมีโอกาสในการเลือกเหยื่อมากขึ้นนั่นเอง
.
จะเห็นได้ว่าไอศกรีมมันไม่ได้เกี่ยวกับอาชญกรรมแต่อย่างใดเลย เพียงแต่มันไปในทิศทางเดียวกันเท่านั้นเอง
.
เราจึงไม่สามารถด่วนสรุปไปเลยว่าวันไหนที่คนกินไอศกรีมเยอะจะมีคนฆ่าปล้นชิงกันมากขึ้น เช่น อาจจะพบว่าอยู่ๆ ก็มียอดอาชญกรรมเพิ่มขึ้นก้าวกระโดดแต่ทำไมไอศกรีมไม่ได้ขายดี นั่นก็เพราะตอนนั้นเป็นฤดูหนาวที่คนไม่ค่อยอยากกินอาหารกลุ่มนี้ แต่เป็นช่วงวันหยุดเทศกาลที่คนออกมาเที่ยวนอกบ้านกันนั่นเอง
.
สาเหตุที่แท้จริงของอัตราการเพิ่มของอาชกรรมจึงเป็นไปตามอัตราการใช้เวลานอกบ้านของประชากรนั่นเอง
.
.
นี่คือตัวอย่างความแตกต่างระหว่างการคิดแบบ First order thinking และ Second-Order Thinking ที่ทำให้เห็นแล้วว่าบางครั้งการตัดสินใจแบบรวดเร็ว โดยใช้เหตุผลที่เรียบง่าย หรือใช้แค่ความรู้สึกสัญชาติญาณหรือที่เรียกว่า Gut feeling อาจไม่ใช่ทางออกของการตัดสินใจที่ดีเสมอไป
.
.
เมื่อเรารู้เช่นนี้แล้ว เราสามารถเอาวิธีการนี้ไปประยุกต์ใช้ได้ทันทีเพื่อไม่ให้เราเป็นเหยื่อการทำงานของสมองแบบ First order thinking ด้วยคำถามง่ายๆ 2 ข้อ


1.การตัดสินใจครั้งนี้เดิมพันใหญ่หรือไม่

Domino Chain Reaction กล่าวถึงปรากฎการณ์ที่สามารถพบได้ในธรรมชาติทั่วไป กล่าวคือผลลัพธ์เพียงหนึ่งสิ่งสามารถส่งผลกระทบเป็นทอดๆ เรื่อยไป…จากจุดเริ่มต้นเล็กๆ สามารถแปรเปลี่ยนทรงพลังสิ่งที่ใหญ่โตกว่าปัจจัยเริ่มต้นได้มากมายนัก เช่นเดียวกับสำนวน ‘เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว’ ซึ่งเราสามารถเอามาประยุกต์ใช้กับการตัดสินใจใหญ่ๆ ในชีวิตของเราได้

นั่นเพราะไม่ใช่ทุกปัญหาจะมีคุณค่าพอให้ใช้ Second-Order Thinking เพราะมันเป็นอะไรที่ต้องใช้เวลา พลังงาน และหลายๆ ครั้งอาจหมายถึงต้องออกหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจเหตุปัจจัยทั้งหมดก่อนตัดสินใจ…พูดง่ายๆ ว่ามันเหนื่อยพอสมควรครับกับการคิดแบบนี้
.
คุณอาจจะไม่จำเป็นต้องตั้งคำถามกับทุกสิ่งอย่างที่อยู่รอบตัวก็ได้ ว่าท้องฟ้าทำไมต้องสีฟ้า…จำเป็นต้องกินอาหารวันละ 3 มื้อหรือไม่ หรือโลกเราจะลอยอยู่ในตู้ปลาของเอเลี่ยนทรงภูมิปัญญาที่มีเราไว้เป็นสัตว์เลี้ยงดูเล่น (ในกรณีที่คุณไม่ได้เป็นนักปรัชญาหรือนักวิทยาศาสตร์น่ะนะ เพราะแม้แต่ “นักคิด” เหล่านี้ก็ยังเลือกหัวข้อที่ตัวเองจะเจาะจงศึกษาอยู่ดี)
.
เพียงการตัดสินใจใหญ่ๆ ที่สำคัญวันละแค่ 1 เรื่อง (One great big decision a day) ก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้ชีวิตของคุณดีขึ้น เช่น ควรต้องเปลี่ยนแปลงอะไรในการทำงานที่ทำอยู่ให้ดีขึ้นบ้าง, เราควรอยู่อาศัยที่ไหนดี, เราจะตัดสินใจเรียนต่อหรือทำงานไปก่อนดี ควรสายสัมพันธ์กับเธอคนนี้ต่อไปดีหรือไม่
.
จากตัวอย่าง “เราจะตัดสินใจเรียนต่อหรือทำงานไปก่อนดี” เราจะเห็นได้ว่าทางเลือกทั้งสองทางนั้นก็ถูกสร้างมาจาก First order thinking ที่สังคมบอกกล่าว นั่นคือการเห็นทางเลือกในชีวิตมีแค่สองทาง คือเรียนกับทำงาน…แต่ถ้าเราใช้ Second-Order Thinking เข้ามาจับ เราจะพบว่าบางทีทางเลือกเราอาจจะมีมากกว่านั้นก็เป็นได้
.
ไม่ใช่แค่คำตอบที่สำคัญ
ถ้าเราตั้งคำถามได้ดี เปิดกว้าง เป็นกลาง สร้างสรรค์
ความเป็นไปได้ของคำตอบก็จะขยายมากขึ้นตามไปด้วย

 


2.ใช้ Second-Order Thinking ด้วยคำถาม What- if (ถ้าแล้ว)

Critical thinking จัดเป็นหนึ่งในทักษะ‘ทักษะแห่งอนาคตใหม่’ที่สำคัญลำดับที่ 7 ในรายงาน ‘New Vision for Education: Fostering Social and Emotional Learning Through Technology’ ขององค์กรไม่แสวงหาผลกำไรระดับโลกนาม ‘World Economic Forum’

 

What- if เมื่อแปลให้เข้ากับบริบทคนไทยง่ายๆ คือการที่เราตั้งคำถามกับสมมุติฐานที่เป็นอยู่เดิมว่าถ้าไม่เป็นแบบนี้แล้วจะเป็นแบบไหนได้อีกบ้าง
.
เช่น จำเป็นไหมที่คนยุคใหม่ต้องทำงานที่ออฟฟิศเท่านั้น จำเป็นไหมที่เราต้องทำงานวันละ 8 ชั่วโมง จำเป็นไหมที่เราต้องเข้าเรียนแต่คณะที่เป็นที่นิยม จำเป็นไหมที่เราต้องรีบแต่งงาน จำเป็นไหมที่ต้องมีเงินเยอะๆ แล้วถึงจะมีชีวิตที่ดี จำเป็นไหมว่าเกิดประเทศไทยแล้วต้องใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ในประเทศไทย (อุปส์) ฯลฯ
.
จะเห็นได้ว่าคนส่วนใหญ่อาจไม่ได้ตั้งคำถามในประเด็นเหล่านี้ แต่ลงมือตัดสินใจไปตามขนบธรรมเนียมของสังคมที่บอกกล่าวว่าดี (Conventional wisdom) ทว่าทักษะในการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical thinking) เหล่านี้เองที่ปราชญ์และสำนักคิดแห่งยุคสมัยต่างบอกว่ามันคือทักษะแห่งอนาคตใหม่ที่เหมาะกว่าสำหรับโลกที่เปลี่ยนแปลงเร็วอย่างทุกวันนี้
.
เมื่อ Conventional wisdom อาจไม่สามารถวิวัฒน์ตามโลกได้ทัน ทักษะในการคิดด้วยตัวเอง (Think for Yourself) เหล่านี้ที่จะสามารถช่วยนำพาชีวิตให้เจริญพัฒนา ผ่านการตัดสินใจที่เฉียบแหลมและเหมาะสถาณการณ์จำเพาะของตัวเองได้
.
.
แน่นอนว่าการตัดสินใจที่ดีเป็นทักษะที่สามารถฝึกฝนให้ดีขึ้นได้ คนเก่งๆ หลายคนอาจหลงคิดว่าตัวเองทำมันได้ดีอยู่แล้ว แต่ช้าก่อน…
.
….ความรู้และความสามารถอาจไม่ใช่ตัวชี้วัดที่ดีว่าคุณเป็นคนที่ตัดสินใจได้ดี โดยเฉพาะคนมีความสามารถหลายๆ คนอาจเข้าใจสิ่งนี้ดี เมื่อย้อนกลับไปทบทวนความผิดพลาดครั้งใหญ่ๆ ที่เคยทำในอดีต (ตอนนั้นทำไมเราตัดสินใจอย่างนั้นนะ ทำลงไปได้ยังไง ?)
.
พวกเขาถามตัวเองว่า ทำไมคนที่มีความรู้ ความสามารถ มีศักยภาพอย่างเราๆ ถึงตัดสินใจผิดพลาดในบางเรื่องได้อย่างไม่น่าเชื่อ
.
นั่นก็เพราะความจริงได้เผยออกมาแล้วจากงานวิจัยทางจิตวิทยาว่าการตัดสินใจของมนุษย์เรานั้นเป็นผลมาจากอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งเต็มไปด้วยความลำเอียงทางความคิดที่เรียกว่า Cognitive bias อันเป็นตัวนำไปสู่การตัดสินใจที่เรียกว่า First order thinking ส่วนลอจิก เหตุผลต่างๆ ถูกนำมาใช้น้อยมาก เมื่อเราตัดสินใจอย่างขาดสติ
.
การตระหนักรู้ว่าบางทีเราอาจคิดได้ดีกว่านั้นเพียงแต่หยุด และก้าวออกมาดูตัวเองในมุมที่สูงออกไป นับเป็นก้าวแรกง่ายๆ ที่เราสามารถทำได้ทันที ส่วนวิธีการที่มีประสิทธิภาพก็ได้นำเสนอไปแล้วใน 2 ข้อข้างต้น
.
ซึ่งถ้าใครอยากสำรวจแนวคิดเรื่อง “Think for Yourself” ให้ลึกขึ้น สามารถอ่านได้ในบทความ “กบฏจากฐานราก แหกคอกพิจารณาหาเหตุผลสู่ความสำเร็จ [หลักคิดแบบ First principle: ตามแบบฉบับ Elon Musk]” ของผู้เขียน ได้ที่ link นี้ครับhttp://news.se-ed.com/?p=5865
.
.
.
.
.
โดย ณภัทร สงวนแก้ว (แอดหนุ่ย)

ณภัทร สงวนแก้ว

ณภัทร สงวนแก้ว

ร่วมแสดงความคิดเห็น และแชร์ไปยัง Facebook ของท่าน