หากใครติดตามอ่านบทความของผมจะเห็นว่า เต็มไปด้วยบทความขนาดค่อนข้างยาวที่ใช้เวลาทำการบ้านนานมากๆ เรื่องราวในนั้นมักจะ original และผ่านการคิดสังเคราะห์มาแล้ว ทว่าขนาดกับคุณภาพอาจจะเป็นคุณสมบัติที่ไม่เกี่ยวข้องกัน(interdependent) วันนี้เลยอยากจะมาชวนคุยเรื่องสั้นๆ เกี่ยวกับการลงมือสร้างสรรค์อะไรซักอย่างให้ประสบความสำเร็จ (เดี๋ยวมีเขียนบทความ full function เรื่องนี้ด้วย…คอยกันก่อนนะครับ )
ชายผู้ค้นพบว่าอาการ “เอาไว้ทำที่หลัง” ช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ได้
Adam grant คนนี้เป็นศาสตราจารย์สอนที่โรงเรียนธุรกิจอยู่ที่ Wharton School of the University of Pennsylvania เป็นเจ้าของหนังสือขายดีระดับโลกที่มีแนวคิดเจ๋งๆหลายเล่มเช่น Originals, Give and Take ซึ่งก็มีแปลไทยไปบ้างแล้ว
คุณอดัมชวนคุยกับเราใน TED Talks ที่มีชื่อว่า the surprising habit of the original thinker
ซึ่งแปลเป็นไทยแล้วชวนให้อยากเข้าไปฟังมากๆ นั่นคือการตั้งคำถามที่น่าสนใจว่า “คุณสมบัติอะไรในตัวคนที่เราเรียกเขาว่า original thinker หรือนักคิดที่สรรค์สร้างไอเดียที่เป็นต้นฉบับ จนคนอื่นต้องร้องว้าว”
ในการบรรยายครั้งนี้มีการพูดถึงหลากหลายแนวคิดเช่น thinker พวกนี้ไม่ได้เก่งกาจมากมายจนคลอดไอเดียอะไรออกมาก็เจ๋งไปหมด แต่พวกเขาแค่ไม่ย้อท้อต่อการสร้างไอเดียเหล่านั้นต่อไป อดัมได้ยกตัวอย่างของ ศิลปินดังๆ ระดับโลกที่เป็นตำนานหลายคนเช่น Beethoven, Mozart, Bach ที่ต้องผ่านการผลิตผลงานมานับไม่ถ้วนเพื่อที่จะคลอด “ไข่ห่านทองคำ” ที่ล้ำเลิศออกมา และนั่นก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้เขากลายเป็นผู้พลิกวงการด้วยผลงานระดับชิ้น masterpiece เหล่านั้น
อันที่จริงผมค่อนข้างที่จะทราบข้อเท็จจริงเหล่านั้นอยู่แล้วเลยไม่ได้รู้สึกว้าวอะไรมากนัก…เพราะเคยผ่านตากับ design tools ที่เรียกว่า Fast Idea Generator มาแล้ว และการผลิตไอเดียกับทีมด้วยการทำ Brainstorming ให้ได้มากที่สุดแล้วค่อยมาเลือกชิ้นที่ดีที่สุดเพื่อ develope ต่อก็เป็นสิ่งที่ผมเคยผ่านมาแล้วเช่นกัน ทว่าส่วนของการบรรยายที่ทำให้ผม surprise มากที่สุดกลับเป็นภาพ slide ที่ดูเผินๆ หน้าตาน่าเบื่อ แต่ทำให้ผู้ฟังรอบๆ ted stage ขำกันทั้งโรง ก็คือภาพนี้ครับ
พอจะเก็ทหรือยังครับว่าทำไม…ก่อนหน้าที่อดัมจะอธิบายมาถึงส่วนนี้ ตอนต้นของการบรรยายอดัมได้พูดถึงข้อดีของสิ่งที่เรียกว่าการผัดวันประกันพรุ่ง (procrastination) ที่ถ้าเกิดขึ้นกำลังดีอย่างพอเหมาะจะช่วยเพิ่มพลังความคิดสร้างสรรค์ได้ เขายกตัวอย่างตัวเอง ตอนที่เขียนหนังสือของเขาชื่อ Original ในบทที่ว่าด้วย procrastination พอเขียนไปได้ครึ่งเรื่อง เขาตัดสินใจที่จะหยุดเขียนมันเสียดื้อๆ วางปากกา เก็บงานเข้าลิ้นชัก พักโปรเจกไว้หนึ่งเดือน (อดัมเรียกตัวเองว่าเป็น procrastination ชอบทำอะไรให้เสร็จไม่คั้งค้าง พอทำแบบนี้เขาบอกเขารู้สึกทรมาณมากๆ 555+)
พอเขากลับมาเขียนงานอีกครั้งหนึ่ง ปรากฎว่าในหัวของเขาเต็มไปด้วยไอเดียเจ๋งๆ มากมายที่คงไม่มีโอกาสเผยออกมาถ้ารีบเขียนให้จบไปตั้งแต่หนึ่งเดือนก่อนหน้า
นี่คงจะเป็นเหตุผลให้ผู้อ่านหลายคนนั่งยิ้มกับตัวเองว่า…เห็นไหมที่ฉันผัดวันประกันพรุ่งก็มีประโยชน์อยู่เหมือนกัน เพราะอันที่จริงมีการศึกมาแล้วว่าพนักงานที่ชอบผัดวันประกันพรุ่งได้รับการโหวตจากเจ้านายว่ามักจะเป็นคนที่มี creativity สูงกว่าคนอื่นๆ
แต่ช้าก่อน…มันเป็นเช่นนั้น แต่เป็นแค่ความจริงด้านเดียว หากต้องการเห็นภาพทั้งหมดต้องดูกราฟด้านล่างนี้ครับ
จะเห็นว่าถ้าเราเป็นพวกชอบผัดวันมากๆทางขวาสุดของกราฟ ความคิดสร้างสรรค์จะค่อนข้างน้อย และถ้าเราเป็นพวกใจไวมือไว ลงมือทำงานทันทีอย่างไม่รอช้าก็จะได้คะแนนไม่สูงเช่นกัน ในขณะที่หากคุณผัดวันประกันพรุ่งแต่พอดีๆ จะได้คะแนนความคิดสร้างสรรค์สูงที่สุด
โดยมีคำอธิบายว่า การลงมือทำตอนเส้นยาแดงผ่าแปดก่อน deadline จะทำให้เราตื่นตระหนกทำงานให้มันเสร็จๆ ไปในคุณภาพที่ต่ำกว่าความสามารถที่แท้จริงของเรา ในขณะที่หากเรารีบทำตั้งแต่แรกทันที มันอาจทำให้งานของเราเสร็จไวก็จริง แต่เนื้องานจะไม่สู้พวกที่ให้เวลาตัวเองได้คิด ได้สำรวจความเป็นไปได้โดยมีฉากหน้าเหมือนกับการผัดวันประกันพรุ่ง แต่แท้จริงแล้ว นั่นคือช่วงเวลาทองคำที่ความคิดได้รับการบ่มเพาะจนงอกเงย
กลับมาที่รูปนี้อีกครั้ง…
นั่นคือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นครับ…แต่จุดที่อยากให้ดูจริงก็คือลำดับ(sequence) ของสิ่งที่เกิดขึ้นในหัวเราเวลาทำงานสร้างสรรค์อะไรใหม่ๆ ก็ตาม(ไม่นับรวมงาน routine หรืองาน admin ที่ทำตาม protocol ชัดเจนนะครับ) โดยแต่ละระยะคือช่วงเวลาที่งานดำเนินไป
ช่วงที่ 1 โห ไอเดียนี้แหละโxตรเจ๋ง เราคิดได้ไงวะ
ช่วงที่ 2 เอ๋ อันที่จริง ไอเดียนี้มันก็ออกจะแปลกๆ อยู่นะ จะเวิร์คป่ะวะ
ช่วงที่ 3 โถ่เว้ยย ไม่มีใครเค้าทำกันอย่างนี้ ไอเดียนี้มันโxตรห่วย
ช่วงที่ 4 จะทำต่อดีป่ะวะ หรือจะเลิก ไม่ใช่งานห่วยละ แต่เราเองนี่แหละห่วย ไม่เก่งพอที่จะทำออกมาให้ดี
ช่วงที่ 5 เอ้อ ทำๆไป มันก็พอได้อยู่นะ ไม่ได้น่าเกลียดอะไร เดี๋ยวปรับอีกหน่อยมันก็ดีขึ้นเอง
ช่วงที่ 6 เฮ้ยยย ไปๆ มา มันก็เจ๋งดีนี่หว่า ค่อยยังชั่ว กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ ภูมิใจๆ
ซึ่งคนทั้งที่นั่งฟังอยู่เขาก็หัวเราะกันใหญ่ก็เพราะลองดูดีๆ ตรงช่วงรอยต่อระหว่างช่วงที่ 3 กับ 4 นี่แหละครับ (จาก this is crap —> I am crap)
มันค่อนข้างจะโดนใจคนคิด คนทำงานสร้างสรรค์อย่างเรามากๆ ยกตัวอย่างการเขียนงานของผมเองก็ได้ หลังจากทำการบ้านอย่างหนักหน่วง คิดไว้ในหัวแล้วว่าเรื่องที่เขียนมันเจ๋งอย่างไร แต่พอเขียนๆไป มันจะมีช่วงหนึ่งที่ปีศาจร้ายแห่งความสงสัย (doubt) จะโผล่หน้าเข้ามาเพื่อบั่นทอนกำลังใจเรา…งานนี้มันจะออกมาดีจริงๆหรอ…
พอซักพักหนึ่งความสงสัยนั้นมันจะเริ่มคืบคลายตัวออกจากความสงสัยในไอเดียหรือตัวงาน (idea doubt) มาเกาะกุมสงสัยในศักยภาพของตัวเราเอง (self doubt)
ซึ่งตรงนี้แหละครับเป็นจุดหลอกจุดตายที่คนธรรมดาพากันลงหลุมมากที่สุด
ปล.อยากให้จำคำว่า idea doubt กับ self doubt ไว้ให้ดีนะครับ
ความแตกต่างของ original thinker และคนธรรมดา
และก็เช่นกันกับที่ original thinker ทั้งหลายกระโดดผ่านมันไปได้อย่างสง่างาม เพราะพวกเขารู้ดีว่ามันจะมีจุดหนึ่งในการสร้างสรรค์งานที่เราจะเริ่มท้อถอยเพราะเริ่มผูกเอาความสามารถในการผลิตงานมาโยงกับความเป็นตัวตนและอีโก้ของเราเอง ทำให้เกิดภาวะขาดกำลังใจและนั่นเองคือจุดที่ไอเดียของเราเป็นหมัน
ในขณะที่ original thinker ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลายจะเข้าใจกฎของการสร้างสรรค์งานอยู่ข้อหนึ่งที่เราได้กล่าวไปแล้วก็คือ ไอเดียที่เราสร้างขึ้นมาตอนแรกมันมักจะห่วย (Most ideas suck) แต่เราไม่ได้มีไอเดียเดียวนี่นา…เราจงอย่าหยุดค้นหาและทดลอง ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ ค่อยๆลับจากไอเดียที่ทึ่มทึง เป็นไอเดียที่แหลมคม เช่นเดียวกับที่นักเขียนค่อย edit งานซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพื่อให้งานเขียนของตนออกมาได้คุณภาพอยู่ในจุดที่น่าพอใจ
เช่นเดียวกับที่ Mark Zuckerberg เคยกล่าวไว้ว่า
“Ideas don’t come out fully formed. They only become clear as you work on them. You just have to get started.”
ไอเดียมันไม่ออกมาดีสมบูรณ์แบบตั้งแต่แรกหรอก แต่มันจะค่อยๆเริ่มแหลมคมและชัดเจนขึ้นเองเมื่อคุณเริ่มลงมือทำมัน ทั้งหมดที่สำคัญก็คือ คุณต้องเริ่มต้นแค่นั้นเอง
หนูน้อยที่แสนน่ารัก
You must be imaginative, strong-hearted. You must try things that may not work, and you must not let anyone define your limits because of where you come from. Your only limit is your soul. What I say is true – anyone can cook… but only the fearless can be great.
คุณต้องมีจิตใจแข็งแกร่ง ต้องกล้าที่จะฝันใฝ่จินตนาการ คุณต้องทดลองทำสิ่งต่างๆ ที่ท้ายสุดมันอาจจะไม่เวิร์ค และคุณต้องอย่าปล่อยให้ใครมากำหนดว่าคุณทำอะไรได้หรือไม่ได้เพียงเพราะภูมิหลังและประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาในอดีตของคุณ หากจะมีสิ่งเดียวที่จะลิมิตคุณได้ สิ่งนั้นก็คือใจของคุณเอง สิ่งที่ผมพูดคือความจริง ใครๆก็สามารถจะทำอาหารได้ (แม้แต่หนู) แต่คนที่จะเป็นเชพที่ยิ่งใหญ่ที่แท้จริง คือผู้ที่ไม่หวาดกลัวที่จะทดลองและตั้งคำถามที่กล้าหาญเหล่านี้
Ratatouille (2007)
หาญกล้าที่จะสร้างสรรค์
นั่นแหละครับ มาถึงตรงนี้ก็พอจะเห็นแล้วว่าสิ่งที่แยกผู้สร้างสรรค์อัจฉริยะระดับโลกกับคนธรรมดาไม่ใช่เรื่องของอะไรอื่น
1.นอกจากวิธีคิดเล็กๆ ที่ว่า “ความเชื่อมั่นและความอดทนในการสร้างสรรค์ไอเดีย คือการต่อสู้กับ self doubt และการเหลาไอเดียของตนอย่างมุ่งมั่นไม่หยุดยั้ง เพื่อคลอดไอเดียออกมาเป็นผลงานที่โลกที่ต้องจดจำ”
2.การรู้จักจัดสมดุลระหว่างการคิดและการลงมือทำ ไม่ผัดวันประกันพรุ่งจนเนื้องานไร้คุณภาพและมีความกล้าที่ให้ความคิดได้งอกเงยอย่างพอดี
อย่าลืมล่ะครับ ทุกคนย่อมมีตุ๊กตาหน้าตาน่าเกลียดเป็นของตัวเองทั้งนั้น…และก็เป็นคนเดียวกันนี่เองที่มีศักยภาพที่จะเป็นแสงสว่างให้กับคนได้ทั้งโลก…สู้เค้า เจ้าหนูน้อยแรททาทูอี้…พ่อครัวน้อย หัวใจคับโลก
คนสายวิทย์ที่จงใจมาทำงานสายธุรกิจและหวังว่าซักวันหนึ่งทั้งสองโลกจะมาเชื่อมกัน