Loading

wait a moment

เปิดห้องเรียนความสุข จากคลาสที “ป๊อป” ที่สุดในประวัติศาสตร์ฮาร์วาร์ด

Happiness

เราทุกคนดำรงชีวิตอยู่ด้วยความมุ่งหวังว่าจะได้พบกับความสุข

ดังนั้น แม้ว่าชีวิตของเราจะแตกต่างกัน แต่แท้จริงแล้วกลับเหมือนกัน”

– แอนน์ แฟรงค์ –

 

ในชีวิตจะมีหนังสือกี่เล่มกัน ที่คนเราอ่านซ้ำเป็นรอบที่สาม…

 

มีหนังสือจำนวนไม่มากที่ผมอ่านซ้าเป็นครั้งที่ 3 และ “เปิดห้องเรียน วิชาความสุข” เป็นหนึ่งในนั้น พอเปิดดูก็พบว่ามีรอยขีดเขียน ไฮไลท์สรุปอะไรอยู่เต็มไปหมดซึ่งร่องรอยเหล่านี้ประทับอยู่ครั้งแรกย้อนไปเกือบๆ 7 ปีแล้วด้วยซ้ำ

 

จากวิชาที่ฮิตที่สุดในฮาร์วาดกลายมาเป็นหนังสือ

แน่นอนว่าประโยคข้างต้นเป็นแค่จุดขายที่นักขายเก่งๆ ชอบดึงเอาออกมาพูดกัน แต่มันก็ชวนให้คิดจริงๆ ไม่ใช่หรอว่าทำไมหนึ่งในกลุ่มของคนรุ่นใหม่ที่ไฟแรงและฉลาดที่สุดบนโลกถึงได้มาสนใจอะไรที่เป็นเรื่องราวภายในอย่างเรื่องของ “ความสุข” ที่ค่อนข้างที่จะเป็นเรืี่องปัจเจกของแต่ละบุคคล

happier
คลิกดูรายละเอียดได้ที่นี่

การล่มสลายของจิตวิทยาประชานิยม (pop psychology)

สู่การเกิดใหม่ของ จิตวิทยาเชิงบวก (positive psychology)

ไม่ต้องพูดถึงใครที่ไหน ตัวผมเองก็เป็นหนึ่งในของคนประเภทที่ชอบอ่านหนังสือแนวจิตวิทยาพัฒนาตนเองเป็นอย่างมาก และก็มั่นใจว่าพวกเรายุค millennial หลายๆ คนก็เกิดและเติบโตมากับหนังสือตระกูลนี้ เมื่อมีอุปสงค์ก็ต้องมีอุปทาน ซึ่งสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนที่ชั้นหนังสือในหมวดเหล่านี้ที่ละลานตาและจ่อมจมไปด้วยหนังสือฮาวทูจำนวนมาก

 

ตลอดระยะเวลา 500 ปีแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรม

ตลอดระยะเวลา 250 ปี แห่งงการปฏิวัติเทคโนโลยี

ตลอดระยะเวลา 50 ปีแห่งการปฏิวัติเทคโนโลยีการสื่อสาร

ที่ผ่านมา…

มนุษย์เรามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นราวกับหน้ามือหลังมือโดยไม่ต้องสงสัย

คุณภาพชีวิต ความปลอดภัย สุขภาพ เทคโนโลยี ดีขึ้นในทุกๆ มิติ

ปัจจุบันพวกเราก้าวเข้าสู่โลกทุนนิยมอย่างเต็มตัว ตลอดตั้งแต่ลืมตาดูโลกจนเติบโตเข้าสู่วัยผู้ใหญ่เราถูกหล่อหลอมด้วยมิติทุกด้านของเงิน เราอาจจะไม่รู้ว่าเงินใช่เป้าหมายสูงสุดของชีวิตหรือไม่ เพราะคำถามมันยากเกินไป แต่ที่แน่ๆ มีเงินก็ย่อมดีกว่าไม่มี

YOUR MONEY OR YOUR LIFE เงินหรือชีวิต
YOUR MONEY OR YOUR LIFE เงินหรือชีวิต—หนังสือจากสำนักพิมพ์ openbooks ที่เพิ่งออกใหม่ในงานงานสัปดาห์หนังสือปีนี้ มีคำโปรยที่ว่า “นี่ไม่ใช่หนังสือ How–To ที่จะทำให้คุณรวย หรู ดูดี แต่นี่คือหนังสือที่จะช่วยให้คุณตั้งคำถามใหม่และคำถามใหญ่กับหน้าที่การงาน การใช้ชีวิต และวิกฤตที่คุณมีกับสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่า ‘เงิน’ “

 

ถ้าเรารวยกันมากนัก ทำไมเราถึงไม่มีความสุขล่ะ

ประโยคข้างต้นกล่าวโดย มิฮาลี ซิเซนมิฮาย นักจิตวิทยาแนวหน้าคนหนึ่งในสาขาจิตวิทยาเชิงบวกเคยกล่าวไว้เช่นนั้น

ซึ่งก็ต้องยอมรับจริงๆ ว่าเป็นคำถามที่น่าคิดไม่ใช่น้อย เพราะมีงานวิจัยที่มีชื่อเสียงและอยู่ยงคงกระพันในการทดสอบซ้าแล้วซ้าเล่าที่ว่า

เมื่อจุดหนึ่งที่รายได้ของเราทุกคนเกินจุดๆ หนึ่งไป เป็นจุดที่เราสามารถใช้เงินจับจ่ายซื้อของในโลกทุนนิยมที่พอเพียงแก่การดำรงชีวิตขั้นพื้นฐาน พเลยจุดนี้ไปแล้ว ช่างน่าแปลกที่ต่อให้เรามีรายได้เพิ่มขึ้นก็ไม่ได้ทำให้ระดับความสุขเพิ่มขึ้นอีกต่อไป

 

ก็พูดได้น่ะสิ ! แล้วถ้าพรุ่งนี้คุณถูกหวยรางวัลที่หนึ่ง ร่ำรวยขึ้นมาพริบตา ความสุขเราจะไม่เพิ่มขึ้นเลยหรอ คำตอบคือเพิ่มแน่นอนครับ อันที่จริงมันจะพุ่งขึ้นสูงปรี๊ดเลยล่ะ ทว่าน่าเศร้าที่ความรู้สึกนั้นคงอยู่ได้ไม่นาน เพียงประมาณ 16 เดือนระดับความสุขของเราก็จะกลับไปเท่าเดิมก่อนที่จะถูกหวยแม้ต่อนนั้นเราจะย้ายมานอนในบ้านหลังโตมีรถหรูๆ ขับก็ตาม

 

ถ้าเงินไม่ใช่คำตอบของความสุข แล้วอะไรล่ะ?

คำถามเดียวกันนี้แหละครับที่อยู่ในหัวผมตอนที่กำลังอ่านบทนำหนังสือเล่มนี้เมื่อ 7 ปีที่แล้ว จนต้องตัดสินใจซื้อมันเพื่อสนองต่อมความอยากรู้ของตัวเอง และวันนี้ผมก็หยิบมันมาอ่านอีกครั้งและไม่เคยคิดเสียดายที่ซื้อมา

เด็กวิทย์ไม่เชื่ออะไรที่เลื่อนลอย

ด้วยความที่ผมถูกฝึกให้คิด ผ่านการเรียนและเติบโตในคณะวิทยาศาสตร์ ทำให้ซึมซับเอาหลักการและค่านิยมในการยึดถือต่ออะไรที่มันมีหลักฐานยืนยัน มีที่มาที่ไป มีเหตุและผล นั่นทำให้ หนังสือเล่มนี้ซึ่งมีตีมหลักคือ“จิตวิทยาเชิงบวก” ซึ่งเป็นศาสตร์ที่สามารถเข้าถึงคนเดินดินธรรมดาไปจนถึงศาสตราจารย์ทางปรัชญา

เพราะมันสามารถเชื่อมประสาน ผนวกเอาความเข้มข้นของหนังสือวิชาการหรืองานวิจัยทางวิทยาศาสตร์เข้ากับความเพลิดเพลิน อ่านสนุกของหนังสือแนวพัฒนาตนเองได้อย่างดีเยี่ย

It’s totally work

สิ่งที่ชอบมากๆของเล่มนี้คือเล่าเรื่องได้สนุก มีพล๊อตเรื่องอย่างกับอ่านนิยาย เสริมพลังด้วยงานวิจัยและวิธีการค้นพบ ตามด้วยการขมวดเรื่องราวทั้งหมดเป็น ‘กรอบความคิด’ ที่เราสามารถเอาไปประยุกต์ใช้ได้ตามแต่สถานการณ์ในช่วงชีวิต และทุกๆ หลักการจะเสนอให้เราลองไปปฎิบัติจริงทันที ซึ่งต้องยกความดีงามนี้ให้กับรูปแบบของหนังสือเอง เพราะมันเป็นหนังสือที่เขียนมาจากคอร์สเรียนที่มีอยู่จริงๆ ที่นิสิตแต่ละคนในคลาสต้องเอาหลักการใหม่ๆที่ได้เรียนในแต่ละอาทิตย์ไปใช้จริงแล้วเอาผลลัพธ์มาอภิปรายกัน ช่างเป็นบรรกาศการเรียนที่คล้ายคลึงที่คณะวิทยาศาสตร์ยิ่งนัก

 

ชีวิตก็เท่านี้เอง—

ผมชอบย่อหน้าสุดท้ายของหนังสือเล่มนี้ที่เขียนเอาไว้ประมาณว่า และก็คิดว่าเป็น Key Takeaway ที่มีคุณค่า ที่ว่า

 

หนึ่งในอุปสรรคที่ขวางกั้นเราจากความสุขก็คือเราเองที่ชอบคิดไปว่าจะมีปัจจัยภายนอกดีๆ หรือ big event ที่จะมาเปลี่ยนชีวิตเรา อย่างความสำเร็จ รางวัล แล้วคิดว่ามันจะมอบความสุขชั่วฟ้าดินสลายมาให้ แต่อันที่จริงสุดท้ายมันก็จะเป็นแค่เพียงตัวต่อชิ้นเล็กของความสุขโดยรวมของเราทั้งชีวิต อาจจะเริ่มจากความคิดว่า ชีวิตเราก็เท่านี้ คือรายละเอียดเล็กๆ น้อย คือสิ่งธรรมดาสามัญในชีวิตประจำวัน เราจะได้พบกับความพอใจและความหมายในขณะที่ได้ใช้เวลากับคนที่เรารัก ขณะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ในขณะที่เราทำบางสิ่งอย่างที่ยิ่งใหญ่กว่าตัวเราเองเพื่อผู้อื่น ยิ่งวันเวลาของเราเต็มไปด้วยประสบการณ์เหล่านี้มากขึ้นเท่าไหร่ เราก็ยิ่งมีความสุขมากขึ้นเท่านั้น”

 

เช่นเดียวกับหนังสือเล่มนี้

เช่นเดียวกับบทความนี้

เช่นเดียวกับตัวผู้เขียนเอง

เช่นเดียวกับเว็บไซต์นี้

แม้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของแรงบันดาลใจและความสุข แม้เราจะเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ แต่ก็ขอเป็นหนึ่งในก้าวสำคัญที่จะนำไปสู่ชีวิตที่มีความสุขมากขึ้นของทุกคน…

แรงบันดาลใจเริ่มต้นที่นี่ แล้วพบกันใหม่

 

ณภัทร สงวนแก้ว
ณภัทร สงวนแก้ว

คนสายวิทย์ที่จงใจมาทำงานสายธุรกิจและหวังว่าซักวันหนึ่งทั้งสองโลกจะมาเชื่อมกัน

 

ปล.ต้องขอบอกกล่าวในฐานะบล๊อกเกอร์หลักของเว็บไซต์นี้ก่อนว่า การที่ผมออกมาแนะนำหนังสือแต่ละเล่มนั้นไม่ได้มี agenda พิเศษอะไรอยู่เบื้องลึกเบื้องหลังนอกจากแค่ว่าผมชอบและเห็นประโยชน์ของหนังสือเล่มนั้น และเนื้อหาในเล่มจะเป็นสิ่งที่ตรงกับตีมโดยรวมของเรื่องที่ผมชอบและสนใจ สำหรับในกรณีนี้คือตีม จิตวิทยาเชิงบวก การมีชีวิตที่ดี วิทยาศาสตร์ของความสุข หากใครสนใจในเรื่องราวเหล่านี้คล้ายๆ กับผม ก็ฝากติดตามด้วยนะครับ

ร่วมแสดงความคิดเห็น และแชร์ไปยัง Facebook ของท่าน