Loading

wait a moment

กฎทอง 5 ข้อ แค่ทำตามก็เพิ่ม productivity ในการทำงานและการอ่านหนังสือให้มากขึ้นได้แบบทะลุขีดจำกัด

ให้ทายว่าอะไรมาเป็นอันดับหนึ่ง.
.
.
.
.

เย่!!! ใช้แล้ว มือถือนั่นเอง

——-
กฎข้อที่1:เก็บมือถือให้ห่างจากตัวเข้าไว้
——-

พูดง่าย แต่ทำยากกกก
ก็คนมันเสพติด ติบหนึบเลยล่ะ
แต่ก็ต้องขอบอกว่ามันไม่ใช่ความผิดของเราหรอก
รู้หรือไม่ว่าบริษัท startup ใหญ่ๆ ที่ทำแอพในมือถือที่เราใช้กันอยู่ทุกวัน เช่น facebook ล้วนมีเบื้องลึกเบื้องหลังในการออกแบบ application ให้เราใช้กัน

สิ่งนั้นก็คือ…Hook Model
มันคืออะไรหว่า…hook แปลว่า ตะขอ
ซึ่งก็เอาไว้เกี่ยวจนติดหนิบนั่นเอง
โดยในขั้นตอนการออกแบบ platform พวกนี้ไม่ว่าจะเป็น

1.ปุ่นโนติสีแดงเย้ายวน
2.new feed ที่เลื่อนลงได้แบบไม่มีจุดสิ่้นสุด
3.AI system ที่คอยคัดเลือกเนื้อหาที่อยู่ในขอบเขตความสนใจ
และอีกมากมาย

ที่ทั้งหมดนี้มันทำให้พวกเราติดมือถือกันมากมากนัก (อันที่จริงต้องบอกว่าติดแอพมากกว่า)
.
.
ถ้ายังใจไม่แข็งพอ
ไม่ใช่สายฮาร์ดคอร์
และไม่อยากมีอาการลงแดง
ก็ขอแนะนำว่าไม่ถึงต้องกับลบแอพเหล่านั้นทิ้งไปแบบผู้เขียน
เราอาจเริ่มง่ายๆ จากการตระหนัก ยอมรับ ว่าเราเองนี่มันเสียเวลากับสิ่งพวกนี้มากไปแล้ว
.
.
เราก็มีหลายเลเวลให้เลือกตั้งแต่
Lv.1 ปิดเสียง
Lv.2 ปิดการแจ้งเตือน
Lv.3 ปิดมือถือ
Lv.4 ลบแอพ (ถ้าใช้ให้เป็นก็มีประโยชน์ ไม่ต้องลบก็ได้)

.

อันที่จริงแล้วเป้าหมายของเรานั้นเรียบง่ายคือ
การตัดสิ่งรบกวนออก และหาเวลาที่เราจะได้นั่งจดจ่อทำงานแบบต่อเนื่องจริงๆ โดยไม่มีอะไรมาขัดสมาธิ (ที่แสนจะรวบรวมได้ยากในปัจจุบัน)

.

ใครอยากได้เทคนิคผสานพลังที่มาแรงที่สุดแห่งยุค
แนะนำให้อ่านบทความ “DEEP WORK ทักษะการทำงานที่ขาดไม่ได้ ในโลกที่เต็มไปด้วยสิ่งรบกวน” ได้ที่นี่ https://bit.ly/2KVGCEA
.
.
.
.
.

——-
กฎข้อที่ 2:เริ่มลุยงานที่ง่ายๆให้เสร็จ
——-

งานมันก็มีเยอะแยะมากมาย แถมงอกได้ไม่จบไม่สิ้น แต่เมื่อเราลองจับมันมาแบ่งประเภทตามแกน 2 มิติคือ ความเร่งด่วนและความสำคัญ เราจะได้การงานออกมา 4 ประเภท ได้แก่

.

1.เร่งด่วนและสำคัญ
2.เร่งด่วนไม่สำคัญ
3.ไม่เร่งด่วยแต่สำคัญ
4.ไม่เร่งด่วนแถมยังไม่สำคัญ

.

คนเก่งๆ มักจะทำสิ่งที่ควรทำ ในเวลาที่เหมาะสม…หยิบจับทำอะไรก็ดูจะประสบความสำเร็จไปเสียหมด นั่นเพราะเขารู้ดว่าเราไม่สามารถทำงานที่มีทั้งหมดได้ในคราวเดียวหรอก…เขาจึงต้องจัด “ลำดับความสำคัญ” หรือที่เรียกว่า To set priorities

เทคนิคระดับโลกที่ใช้ในแวดวงการบริหารธุรกิจก็คือการใช้ตาราง Eisenhower Box เป็นเครื่องมือ

ใครอยากได้เทคนิคสุดเจ๋งนี้อ่านได้ที่บทความ “ทำไมสิ่งไม่ต้องทำ จึงสำคัญกว่า: Eisenhower Box [โมเดลบริหารเวลาชีวิตที่คนใกล้หมดลมอยากให้คุณอ่าน]” https://bit.ly/2D9f6OD

แต่สำหรับวันนี้ทิปสั้นของเราก็คือการจัดการทำงานที่มันง่ายๆ ใชเวลาทำสั้นๆ (เอาซักต่ำกว่า 5 นาทีเสร็จ) ออกไปให้หมดก่อน ถึงแม้เทคนิคการบริหารเวลาของบางสำนักจะแนะนำให้โฟกัสกับงานที่ยากและสำคัญก่อน ซึ่งนั่นก็เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้วเพราะงานที่ส่งผลให้เราประสบความสำเร็จจริงๆก็คืองานพวกนี้แหละ

แต่บางที่ความคิดของเราก็ชอบซุกซนเป็นกังวลไปถึงงานเล็กงานน้อยที่กวนใจ เราเลยขอแนะนำว่าถ้ามันทำแปปเดียวก็เสร็จก็ให้เคลียเสี้ยนหนามกวนใจนี้ออกไปให้หมดก่อน แล้วเอาเวลาที่เหลือไปโฟกัสกับงานหลักของเราโดยไม่ต้องกังวลอีกต่อไป

เมื่อกลับมาดูที่การงานสี่ข้อนั้นอีกรอบ
.
.
1.เร่งด่วนและสำคัญ (ต้องทำอย่างแรกอยู่แล้ว)
2.เร่งด่วนไม่สำคัญ (ไม่สำคัญก็จริง แต่ก็เคลียให้จบๆไปซะ)
3.ไม่เร่งด่วนแต่สำคัญ (จะได้เอาเวลามาโฟกัสกับข้อนี้)
4.ไม่เร่งด่วนแถมยังไม่สำคัญ
.
.
.
.
.

——-
กฎข้อที่ 3: ย้ายก้นไปทำงานที่เงียบๆ
——-

 

ข้อนี้คงไม่ต้องเขียนยาว…แต่เชื่อจริงๆเถอะว่ามีใครหลายคนปล่อยให้เรื่องเบสิกอย่างนี้กวนใจ

ถ้าใครทำงานออฟฟิศแล้วมีเสียงรบกวนเยอะจากสภาพแวดล้อม ลองหาหูฟังมาใส่ หรือหลีกวิเวกไปนั่งทำตรงคนเงียบๆ แล้วจะตกใจในความแตกต่างของคุณภาพงานที่ได้เยอะเลย…ไม่เชื่อ ลอง!!!
.
.
.
.


4.จงระวังความคิดฟุ้งซ่านของคุณเอง

ฟอร์เรสท์ กัมพ์ตัวเอกของเรื่องแม้จะมีระดับสติปัญญา (IQ) ที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของคนทั่วไป แต่มีพลังสมาธิและความตั้งใจสูงมาก มีสติและสมาธิอยู่กับปัจจุบัน ซึ่งสุดท้ายภาพยนต์ก็ได้แสดงให้เราเห็นว่าคุณสมบัติเหล่านี้พากัมพ์ไปได้ไกลเพียงใด [Forrest Gump (1994)]
ความคิดอยู่ได้แค่ใน 3 ที่ครับ
หนึ่ง อดีต
สอง ปัจจุบัน
สาม อนาคต

การคิดเรื่องอดีต
ใช้เพื่อทบทวนเป็นบทเรียนมากกว่าจมปลักเพื่อเป็นทุกข์หรือหวาดกลัวจนไม่กล้าเริ่มอะไรใหม่

การคิดเรื่องปัจจุบัน…รวมพลังโฟกัสดีกว่าการกระจายแต่ไร้ซึ่งการลำดับความสำคัญ

การคิดเรื่องอนาคตเป็นไปเพื่อความหวัง ความฝัน การวางแผน มากกว่าความหวาดกลัวและวิตกกังวล
คิดเรื่องอดีตหรืออนาคตไม่ผิด…แต่สุดท้ายต้องไม่ลืมว่าเรามีชีวิตอยู่ได้แค่ในปัจจุบัน…โฟกัสกับงานตรงหน้าให้มากที่สุด
.
.


5.ซอยย่อยงานชิ้นใหญ่

ข้อนี้ออกจะเป็นเป็นเรื่องทางเทคนิคซักเล็กน้อย

งานใหญ่ งานยากทุกชิ้นล้วนแต่ประกอบไปด้วยงานเล็กๆ ประกอบเข้าด้วยกันนับไม่ถ้วน นั่นทำให้หลายคนผัดวันประกันพรุ่งมันออกไปโดยไม่รู้ตัว เพราะแค่คิดก็เหนื่อยแล้ว

ลองอย่างนี้สิครับ
list ออกมาเป็นข้อๆเลยว่างานใหญ่นั้นสามารถซอยย่อยออกมาได้เป็นงานเล็กๆ ทั้งหมดกี่ข้อ แล้วค่อยๆลงมือทำไปทีละอย่าง โดยจุดเน้นคือต้องทำมันทันทีเดี๋ยวนี้!!!

เช่น หากคุณอยากจะเขียนบทความซักเรื่องเผยแพร่ออนไลน์ คุณอาจจะเริ่มจากการแบ่งงานออกมาเป็น การหาเรื่องที่สนใจเขียน การหาข้อมูลเพิ่มเติม การร่างหัวข้อหลัก การลงมือเขียน การปรับแก้ การหารูปภาพประกอบบทความ การปรับเรียงจัดหน้าลงบล๊อค การตั้งเวลาโพสบนเพ็จส่วนตัวของคุณ

คุณอาจจะคิดว่ามันยากแสนเข็ญ กว่าจะเข็นงานชิ้นนี้ออกมาได้ แต่ความจริงสิ่งเดียวที่ต้องทำก็คือ แค่ก้าวแรกที่คุณตัดสินใจว่าจะเขียนเรื่องอะไรแล้วลงมือหาข้อมูล
.
.
.


หากเอากฎทั้ง 5 ข้อมารวมกัน

หนึ่ง ปิดมือถือซะ

สอง เคลียงาน ธุระ ภารกิจกวนใจให้หมดสิ้น

สาม หาที่นั่งทำงานที่ไม่มีสิ่งรบกวน (ในกรณีที่ไม่ใช่งานกลุ่ม)

สี่ รวบรวมสมาธิ ไม่วอกแวก คิดไปอนาคตเพื่อวางแผน คิดถึงอดีตเพื่อทบทวนและตกผลึกในเนื้องานที่เคยทำ แล้วดึงสติมาถามตัวเองในปัจจุบันว่าเราต้องลงมือทำอะไร

ห้า วางแผนการทำงาน ซอยย่อยงานใหญ่ให้เล็กลง แล้วลงมือทำทันที
.
.
.
หวังว่ากฎทั้งห้าข้อนี้จะช่วยให้เพื่อนๆทำงานเสร็จได้มากขึ้นในเวลาที่ลดลงนะครับ 

 

ร่วมแสดงความคิดเห็น และแชร์ไปยัง Facebook ของท่าน