เครดิทภาพ Elon musk จาก successstory.com
การอ่าน/ พัฒนาตนเอง
มันเริ่มจากความติ่งพี่มาร์ค
สามสี่เดือนผ่านไปไวเหมือนโกหก…
และนั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ผมกลับมาตั้งคำถามกับตัวเองว่า ปณิธานปีใหม่ (new years resolution) ที่ตั้งไว้เมื่อต้นปีเป็นอย่างไรบ้าง ประจวบเหมาะกับการที่มีโอกาสได้แวะเข้าเมืองไปยังร้านหนังสือโปรด ทำให้นึกขึ้นได้ว่า เราลืมไปว่าตัวเองเป็นคนที่ enjoy กับ การเลือกดูชมหนังสือมาโดยตลอด
ช่วงหลังมานี้ Facebook เพิ่งปรับ reach ของ News feed ลง พร้อมกับการที่ Mark Zuckerberg ได้ประกาศลงบนเฟสส่วนตัวว่าปีนี้เขาตั้ง new years resolution ไว้ว่าจะมุ่งแก้ไขปัญหาการใช้ Facebook ในทางที่ผิด ทั้งๆ ที่ปีก่อนๆหน้าโปรเจกของพี่มาร์คมักจะเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับการงานในบริษัทของตัวเองแต่อย่างใด อย่างการท่องเที่ยวทั่วอเมริกา การวิ่ง ฝึกภาษาจีน กินมังสวิรัติ เป็นต้น
เดินตามศาสดา
นั่นแหละครับ พอผมย้อนๆ ไปจะพบว่าในปี 2015 โปรเจกของพี่มาร์คกลับเป็นสิ่งเรียบง่ายอย่างการอ่านหนังสือเดือนละสองเล่ม ด้วยความอยากรู้อยากเห็นเลยเข้าไปหาข้อมูลว่าคนทรงอิทธิพลระดับโลกเขามีความสนใจเกี่ยวกับอะไรกัน พอค้นๆ ไปก็ได้เจอกับบล๊อค A YEAR OF BOOKS ซึ่งเป็นเว็บที่บันทึกเกี่ยวกับโปรเจกการอ่านเอาไว้ พอไล่ดูในลิสต์หนังสือก็พบว่ามีหลากหลายหมวดมากไล่ตั้งแต่ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ
แต่จุดสังเกตุที่น่าสนใจคือทุกเล่มของพี่มาร์คล้วนเป็น Non-fiction ทั้งหมด
ผมเลยตั้งใจว่าปีนี้จะหยิบยืมเป้าหมายของพี่เขามาใช้กับตัวเองดูบ้าง เนื่องจากค้นพบว่ามีหลายคนที่ประสบความสำเร็จระดับโลกที่เป็นนักอ่าน วันนี้เลยจะลองมาลิสต์ไอเดียดูว่าว่าการอ่าน Non-fiction มันดีอย่างไร ได้ประโยชน์อะไร ถึงทำให้นักธุรกิจระดับโลกยอมสละเวลาให้กับกิจกรรมนี้ (เป็นที่รู้กันว่า วอร์เรน บัฟเฟตต์ ศาสดาแห่งการลงทุนแบบเน้นคุณค่า ใช้เวลาแทบทั้งวันหมดไปกับการอ่าน) โดยลิสต์นี้นำมาจากทั้งประสบการณ์ส่วนตัวและการ research ข้อมูลเพิ่มเติม
Non-fiction คืออะไร
ก่อนจะอ่านต่อมาดูความหมายกันก่อน…
Non-fiction เป็นรูปแบบหนังสือที่ตรงข้ามกับ Fiction หรือวรรณกรรม โดยจะเน้นไปที่การเรียงร้อยเรื่องราวในประเด็นต่างๆ เพื่อเสนอแนวคิดของผู้เขียนที่อาจมาจากประสบการณ์ส่วนตัวหรือการ research ข้อมูล บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง ทั้งนี้ Fiction อาจมีลีลาและท่าทีของสำนวนการเล่าเรื่อง (storytelling) ที่นำเสนออย่างมีชั้นเชิง อ่านง่ายและ ใช่, สนุกสนาน
ทำไมการอ่าน Non-fiction จะไม่เปลี่ยนแค่ตัวคุณ แต่จะเปลี่ยนโลกทั้งใบของคุณ
1.ความรู้ต่อความรู้
It is important to view knowledge as sort of a semantic tree — make sure you understand the fundamental principles, i.e. the trunk and big branches, before you get into the leaves/details or there is nothing for them to hang onto.
การมองความรู้เป็นเหมือนกับแขนงต้นไม้ที่มีลำต้น กิ่ง ก้าน ใบ เป็นเรื่องที่สำคัญในการเรียนรู้เรื่องใดๆ ก่อนอื่นให้เริ่มจากการทำความเข้าใจหลักการพื้นฐาน (fundamental principles) ที่เป็นเหมือนแกนหลักที่เป็นลำต้นและกิ่งหลักๆ ของความรู้ก่อนเป็นลำดับแรก ก่อนจะกระโดดไปยังส่วนดีเทลเล็กน้อยๆ ไม่เช่นนั้นเกร็ดความรู้ที่เป็นส่วนใบเหล่านั้นคงไม่มีแกนหลักให้ได้ยึดเกาะ (ปลิดปลิวหายไปจากความทรงจำ)
– Elon Musk –
หากใครเคยได้ลิ้มลองรสชาติการอ่าน Non-fiction มาบ้างก็พอจะรู้ว่านอกจากตัวเนื้อเรื่องใจความหลักของเรื่องราวที่ผู้เขียนสื่อสารกับเรา หรือแม้กระทั่งข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุเป็นผลเชื่อมโยงกันกันไประหว่างเรื่องราวเหล่านั้นเต็มไปด้วยข้อเท็จจริงและเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของความรู้แขนงต่างๆ ทำนั่นทำให้ผู้อ่านจะค่อยๆ เกิดการเห็นความเชื่อมโยงระหว่างประเด็นที่ดูเหมือนแตกต่าง แต่จริงๆ แล้วเกี่ยวข้องกัน
นั่นทำให้เรื่องสองเรื่องที่คนทั่วไปอาจจะมองไม่เห็นว่ามันเชื่อมโยงกัน กลับมีความเกี่ยวข้อง เกิดคุณค่าและหมายขึ้นมาหลงจากเราได้อ่าน Non-fiction เล่มนั้นๆจบลง
ในแง่หนึ่ง Non-fiction จะทำให้เรามีรากของความรู้หรือ concept พื้นฐานของเรื่องนั้นๆ ซึ่งเป็นเหมือนแกนความรู้ ทำให้คนที่อ่าน Non-fiction สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้รวดเร็วกว่าคนทั่วไปเพราะคุ้นเคยกับ logic หรือ theme ของศาสตร์นั้นๆ มาก่อน นั่นคือมีแกนลำต้นที่แข็งแรงนั่นเอง
2.เป็นการเปิดโลกให้กว้างขึ้น
ข้อนี้เห็นได้ชัดจากประสบการณ์ตรงของตัวเอง นั่นคือหลังจากที่เราอ่าน Non-fiction จบลง วิธีการมองโลกของเราจะกว้างขึ้นในแง่มุมนั้นๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ปรากฎการณ์ที่โครงสร้างทางความคิดในหัวเริ่มมาเชื่อมโยงกับความจริงในชีวิตประจำวันตรงหน้าจนทำให้เรามหัศจรรย์จากการเห็นความเชื่อมโยงของสิ่งต่างๆที่ก่อนหน้าเราไม่เคยสังเกตมาก่อน
เช่นเดียวกับที่มีคนเคยกล่าวไว้ว่า วิทยาศาสตร์ไม่เคยทำลายสุนทรีย์ในการชมความงามของดอกไม้ คนทั่วไปอาจจะเห็นว่าดอกไม้ดอกนี้สวย แต่นักชีววิทยาจะเห็นลึกลงถึงความงามของกลไกวิวัฒนาการของพืชดอกบนโลก รวมไปถึงความสำคัญของมันที่มีอิทธิพลต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆในสายวิววัฒนาการ-กลไกในการสืบพันธุ์อันน่าพิศวงของมันการปรับตัวเพื่อล่อแมลงซึ่งเป็นกลไกทางวิวัฒนาการ…เมื่อคุณอ่าน Non-fiction ในเรื่องใดๆ concept will be come your new reality และโลกของคุณ will not be the same.
3.คุณจะใจกว้างมากยิ่งขึ้น:
ผ่านการอ่าน Non-fiction และผ่านการใช้ชีวิต คุณจะเริ่มเข้าใจขึ้นทีละนิดว่าเรื่องๆ หนึ่งสามารถมองได้หลากหลายแง่มุมมากขนาดไหน ความเชื่อหนึ่งปะทะอีกความเชื่อหนึ่ง บางสิ่งถูกหักล้าง บางสิ่งล่มสลาย ทว่าก็มีความคิดใหม่ๆ ขึ้นมาทดแทนเสมอ โลกของความรู้นั้นแสนกว้างขวาง การมองโลกแบบขาว-ดำจะเริ่มหายไป และทำให้เราเปิดใจรับความคิดใหม่ๆ ที่พร้อมที่จะถูกท้าทายต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง และจะเป็นอย่างนั้นเรื่อยไป
4.มันเปลี่ยนคุณไปในทางที่ดีขึ้น:
Non-fiction เต็มไปด้วยข้อเท็จจริงมากมาย และหลายๆครั้งเราจะได้เรียนรู้ Best Practices หรือวิธีการที่ดีที่สุดที่จะทำสิ่งใดๆในทางปฎิบัติ เช่น หนังสือ The Power of Habit เสนอวิทยาศาสตร์ของการเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างถูกหลักวิทยาศาสตร์ หรืออาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางอ้อมโดยไม่รู้ตัวเมื่อเรารู้ fact บางอย่าง หรือการทำให้เรา aware กับบางสิ่งที่ไม่เคย aware เพียงเพราะไม่เคยเห็นความสำคัญของมัน
กล่าวโดยรวมการเข้าใจว่าโลกทำงานอย่างไรจะช่วยให้เรามีปฎิสัมพันธ์กับโลกได้ดีขึ้นเช่นเดียวกับนักกีฬาที่ต้องเข้าใจกฎกติกาของเกมส์เป็นอย่างดี
5.เป็นการออกกำลังกายของสมอง:
หากจะกล่าวโดยรวมๆ อย่างง่ายๆ สมองก็เหมือนกล้ามเนื้อ ยิ่งใช้ก็ยิ่งทำงานได้ดี มีการวิจัยมากมายออกมาบอกแล้วว่าการอ่านช่วยพัฒนาสมอง พัฒนาความจำและป้องกันความเสื่อมก่อนวัยอันควรได้
หากใครอ่าน Non-fiction ย่อมรู้ดีกว่าแม้มันจะสนุกเพียงใด แต่ไม่ใช่กิจกรรมเบาหัวแน่ๆ เพราะระหว่างการอ่านต้องใช้หลากหลายทักษะมาก ทั้งการคิดตาม การเชื่อมโยงประเด็น การให้เหตุผล การสรุปผล ความฉงนและการตั้งคำถาม…
ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการออกกำลังกายของสมองชั้นยอด
6.มันสนุกและเติมเต็มความรู้สึกบางอย่าง ในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง:
มนุษย์โดยธรรมชาติแล้วเป็นสัตว์ที่กระหายอยากในความรู้อย่างยิ่ง ซึ่งภาษาอังกฤษใช้คำว่า curiosity คุณสมบัตินี้เป็นแรงผลักดันของอารยธรรมมนุษย์มาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ เป็นแรงกระหายอยากในการตั้งคำถามต่อสิ่งต่างๆ รอบตัว…
ทำไมดวงอาทิตย์ต้องขึ้นทางทิตย์ตะวันออกแล้วตกทางทิศตะวันตก ทำไมต้องออกล่าสัตว์ให้เหนื่อยในเมื่อสามารถคัดเมล็ดพันธ์และเริ่มเพาะปลูก…
สิ่งเหล่านี้ก่อกำเนิดเป็นองค์ความรู้และควบรวมมาเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีที่ซับซ้อนหรือปรากฎการณ์ทางสังคมต่างๆ ในโลกปัจจุบัน
Above & Beyond
I do not know what I may appear to the world; but to myself I seem to have been only like a boy playing on the seashore, and diverting myself in now and then finding a smoother pebble or a prettier shell than ordinary, whilst the great ocean of truth lay all undiscovered before me.
ผมไม่รู้หรอกว่าโลกมองผมด้วยสายตาแบบไหน แต่สำหรับตัวผมเองแล้ว..ผมก็เป็นแค่เด็กตัวเล็กๆ ที่วิ่งเล่นอยู่บนชายหาด วิ่งเล่นไปทางนู้นที ทางนั้นที…แล้วก็เผอิญไปเจอก้อนกรวดงามๆ หรือไม่ก็เปลือกหอยลายสวยพิเศษกว่าปกตินิดหน่อยๆ…ในขณะที่เบื้องหน้าเป็นมหาสมุทรแห่งความรู้แห่งความจริงอันลึกลับกว้างใหญ่ที่ยังไม่มีใครค้นพบ และผมก็เป็นแค่เด็กน้อยไร้เดียงสาคนนั้น
– Isaac Newton –
นิวตัน…แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติยังมองว่าตัวเองรู้เพียงน้อยนิดราวกับเด็กตัวเล็กๆ ที่ค้นพบเปลือกหอยสีสวย ทว่ามีสิ่งที่รอการค้นพบอีกมากมายราวกับความไพศาลของท้องทะเล
ในวันนี้ที่คุณเกิดมาบนโลกไม่กี่สิบปีก็เปรียบเหมือนเด็กตัวน้อยๆ ที่ไม่ได้เข้าใจเหตุและผลของสิ่งต่างๆ การได้อ่านเรื่องเล่าชั้นดีที่ถูกเขียนโดยผู้รู้ในเรื่องนั้นๆ จึงเป็นการสนองตอบความใคร่ทางปัญญาอันยากจะหากิจกรรมใดมาเทียบเคียงได้
และนั่นคือทั้งหมดที่ผมคิดว่าควรค่าพอแล้วที่ปีนี้ผมจะอ่าน Non-fiction ให้ได้ซัก 20 เล่ม ไม่มากไป ไม่น้อยไป เพื่อความเข้าใจโลกให้มากขึ้น
อ่านให้โลกกว้าง อ่านให้โลกเปลี่ยน อ่านเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เห็นถึงความเป็นไปได้ของชีวิต
คนสายวิทย์ที่จงใจมาทำงานสายธุรกิจและหวังว่าซักวันหนึ่งทั้งสองโลกจะมาเชื่อมกัน