Loading

wait a moment

กัญชา กัญชา กัญชา!! 4หัวข้อเกี่ยวกับกัญชา

ประโยชน์ และ ความเสี่ยง ของการใช้ “กัญชา”

ประโยชน์

  1. ในอดีตที่ผ่านมา กัญชาถูกนำไปผสมกับอาหารเพื่อช่วยกระตุ้นให้เจริญอาหาร ทางการแพทย์จึงเลือกใช้สาร THC นำมาประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ทำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้ดียิ่งขึ้น
  2. กัญชาสามารถช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียน จึงนำมาใช้กับผู้ป่วยโรคมะเร็งและผู้ป่วยโรคเอดส์ได้เป็นอย่างดี
  3. กัญชา สามารถช่วยป้องกันการเกิดอาการซึมเศร้า ที่มีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนได้ เนื่องจากสารที่อยู่ในกัญชาบางชนิด สามารถช่วยปรับสมดุลต่าง ๆ ในร่างกาย ทำให้ผู้ใช้มีความสุข ใจเย็นลง และลดการแสดงพฤติกรรมรุนแรงในทางด้านอารมณ์
  4. กัญชา มีสรรพคุณในการฆ่าเซลล์มะเร็งและทำให้เนื้อร้ายในสมองเหี่ยวลดลงได้ โดยจากการศึกษาของสำนักปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติอเมริกัน แสดงให้เห็นว่า “สารสกัดของกัญชาสามารถช่วยให้คนไข้ตอบสนองกับการบำบัดด้วยการฉายรังสีดีขึ้น” ทำให้เนื้อร้ายหดเหี่ยวลง

ความเสี่ยง

  1. การเสพกัญชาจะมีฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้ผู้เสพมีอาการร่าเริง ช่างพูด ตื่นเต้น หัวเราะตลอดเวลา ต่อมาจะมีฤทธิ์กดประสาท ทำให้ผู้เสพมีอาการคล้ายเมาเหล้าอย่างอ่อน เซื่องซึม และง่วงนอน หากเสพเข้าไปในปริมาณมากจะหลอนประสาททำให้เห็นภาพลวงตา หูแว่ว หวาดระแวง ความคิดสับสน และควบคุมตัวเองไม่ได้ ในบางรายอาจไม่รู้จักตนเองหรือไม่เข้าใจสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว
  2. การเสพกัญชาแม้เพียงระยะสั้น ผู้เสพบางรายอาจสูญเสียความทรงจำได้ เพราะกัญชาจะทำให้สมองและความจำเสื่อม เกิดความสับสน และวิตกกังวล
  3. หากผู้เสพกัญชาเป็นผู้ที่มีอาการทางจิตด้วยแล้ว ก็จะมีความเสี่ยงมากกว่าคนปกติทั่วไปด้วย โดยอาการทางจิตประสาทที่พบได้บ่อย ๆ คือ สมาธิสั้น ความจำแย่ลง มีปัญหาในการตัดสินใจ และบางคนอาจมีปัญหาเรื่องการทรงตัว นอกจากนี้ยังส่งผลอื่น ๆ ต่อร่างกายด้วย เช่น ม่านตาหรี่ ตาแดง มีความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ หัวใจเต้นเร็ว
  4. กัญชามีฤทธิ์ทำลายสมรรถภาพทางกาย ผู้เสพในปริมาณมากเป็นระยะเวลานานจะทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมจนไม่สามารถทำงานได้ โดยเฉพาะงานที่ต้องใช้ความคิด การตัดสินใจ และแรงงาน สารในกัญชาจะทำลายระบบการทำงานของอวัยวะในร่างกายหลายส่วน
  5. กัญชายังมีฤทธิ์ทำลายความรู้สึกทางเพศ ทำให้ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในชายลดลง ทำให้ปริมาณอสุจิน้อยลง ผู้เสพจึงมักมีปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในที่สุด
  6. การสูบบุหรี่ยัดไส้กัญชาเพียง 4 มวน จะเท่ากับการสูบบุหรี่ 20 มวน หรือ 1 ซอง มันจึงสามารถทำลายการทำงานของระบบทางเดินหายใจ ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้มากกว่าคนสูบบุหรี่ธรรมดาถึง 5 เท่า

ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก “Medthai”
และข้อมูลจากหนังสือ “ กัญชง กัญชา ทางการแพทย์ ประโยชน์และโทษ ”

ความปลอดภัยในการใช้ “กัญชา”

เมื่อรู้ถึงข้อดี และ ความเสี่ยงของการใช้ “กัญชา” ไปแล้ว พี่ซีก็แนะนำเรื่องของ ความปลอดภัย และวิธการแก้ไข เมื่อเกิดความผิดปกติของร่างกายเมื่อใช้ “กัญชา” ทุกๆคน ควรทำยังไงกันดี เพื่อให้ร่างกายของตัวเราเองนั้น ยังปลอดภัยหายห่วง

ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก “กระทรวงสาธารณะสุข”

3 กลุ่มหลัก ที่มีความเสี่ยงต่อการใช้ “กัญชา”

เรามาถึงกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงในการใช้ “กัญชา” กันแล้ว ด้วยเรื่องนี้ไม่ใช่เพียงแค่การรับประทาน หรือ ผลิตภัณฑ์ต่างๆเท่านั้น แต่รวมไปถึงทางการแพทย์ด้วยเช่นเดียวกัน หากว่าอยู่ใน 3 หลักที่ต้องระวังแล้ว หลีกเลี่ยง หรือ มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอยู่อย่างใกล้ชิดนะครับ

( และพี่ซีฝากให้หลายๆคน ที่อยากจะทดลองใช้ อย่าใช้ “กัญชา” ในที่สาธารณะเลยนะครับ เพราะว่าอนุภาคของควันมีความเล็กกว่าบุหรี่ถึง 20 เท่า จึงสามารถเข้าไปในปอดได้ง่ายกว่าบุหรี่เป็นอย่างมาก )

ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก “กัญชาทางการแพทย์”

พี่น้อง “กัญชา” และ “กัญชง” ต่างกันอย่างไร แยกกันให้ออก

พี่ซียังเห็นว่า มีหลายคนที่สับสนระหว่างพืช “กัญชา” กับ “กัญชง” กันอยู่ เนื่องจากพืชทั้งสองนี้ อยู่ในวงศ์เดียวกัน คือ Cannabaceae แถมยังสกุลเดียวกันคือ Cannabis เรียกกง่ายๆว่าเป็น “พี่น้อง” กันเลยก็ไม่ผิดอะไร แต่จะต่างกันที่สายพันธุ์ย่อย และกัญชงมีต่อมน้ำมันที่เป็นประโยชน์ทางการแพทย์น้อยกว่ากัญชาเท่านั้นเอง

หากเราเห็นแค่ใบเปล่าๆ แทบจะแยกไม่ออกเลยทีเดียว แต่ด้วยข้อมูลจาก “กระทรวงสาธารณะสุข” จึงทำให้เราสามารถแยกออกแบบง่ายๆได้ดังนี้

หากใครต้องการศึกษาเรื่องของ “กัญชา” อย่างเต็มที่
พี่ซีแนะนำ 4 เล่มที่เกี่ยวกับ “กัญชา” มาให้ทุกๆคนได้ศึกษากันอย่างเต็มอิ่มกันเลยทีเดียว

รวมหนังสือ เกี่ยวกับ “กัญชา”
คลิกเลย : https://bit.ly/39V6PRn

ร่วมแสดงความคิดเห็น และแชร์ไปยัง Facebook ของท่าน